เปิดร้านขายของชำ แล้วไม่รู้จะซื้ออะไร แต่อยาก “ขายดี ขายหมด ขายได้กำไร” มาทางนี้เลยค่า
สำหรับคนที่กำลังจะ เปิดร้านขายของชำ หรือเปิดร้านมินิมาร์ท เมื่อร้านและชั้นวางสินค้า พร้อมแล้ว ทุกคนคงกำลังหาลิสต์รายการ สินค้าในร้านขายของชำ ร้านสะดวกซื้อ ร้านค้าปลีก เพื่อที่จะนำไปเช็กลิสต์เวลาไปซื้อสินค้าที่ร้านซุปเปอร์สโตร์หรือร้านค้าส่งอยู่ใช่มั้ยล่ะคะ
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ทุกคน PN Storetailer ได้ลิสต์และแบ่งเป็นหมวดหมู่สินค้าเหล่านั้นมาไว้ให้คุณแล้วค่ะ 😀
เลือกดูหมวดหมู่สินค้าได้เลย ☟
1. ‘ของกิน’ หรือสินค้าบริโภค

ของกิน คือสิ่งที่ขาดไม่ได้
ของกินหรือสินค้าบริโภคเป็นหมวดหมู่สินค้า ร้านค้าปลีกที่จำเป็นอย่างมากในการเปิดร้านขายของชำ เพราะทุกคนที่ดำรงชีวิตหรืออาศัยอยู่ในบ้านเรือนจะต้องมีเครื่องปรุงรสไว้ประกอบอาหาร ต้องมีอาหารแห้งจำพวกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปหรือปลากระป๋องตุนเอาไว้ยามฉุกเฉิน รวมถึงขนมนมเนย ของว่างที่ช่วยเพิ่มความสุขในการรับประทานอาหารของผู้คนได้อย่างครบครันด้วยในร้านขายของชำของคุณ
เรามาเช็กลิสต์กันค่ะ ว่ารายการสินค้าในร้านขายของชำที่เป็นหมวดหมู่สินค้าบริโภค มีอะไรบ้าง..
1.1 ‘น้ำปรุง’ สำหรับทำครัว
- น้ำมันพืช เช่น หยก องุ่น กุ๊ก มรกต เกสร ทับทิม โอลีน
- น้ำปลา เช่น ทิพรส ปลาหมึก หอยเป๋าฮื้อ
- น้ำส้มสายชู เช่น อสร. เด็กสมบูรณ์
- น้ำจิ้มไก่ เช่น แม่ประนอม ม้าบิน
- น้ำจิ้มสุกี้ เช่น สุรีย์ พันท้าย แม่ประนอม
- น้ำปลาร้า
- ซอสปรุงรส เช่น แม็กกี้ ภูเขาทอง ทาคูมิ
- ซอสมะเขือเทศ เช่น ไฮนซ์ โรซ่า ดอยคำ
- ซอสพริก เช่น ศรีราชา ไฮนซ์
- ซอสหอยนางรม เช่น แม่ครัว เด็กสมบูรณ์
- ซีอิ๊วขาว ซีอิ๊วดำ เช่น เด็กสมบูรณ์ ภูเขาทอง ง่วนเชียง
1.2 ‘เครื่องปรุง’ ในการทำครัว
- น้ำตาลทราย เช่น มิตรผล ลิน
- เกลือ เช่น ปรุงทิพย์ ทหารพราน
- กะปิ เช่น ตราชั่ง เรือใบ
- เต้าเจี้ยว เช่น ง่วนเชียง เด็กสมบูรณ์
- กะทิกล่อง เช่น ชาวเกาะ อร่อยดี
- แป้งทอดกรอบ เช่น โกกิ รสดี
- วุ้นเส้น เช่น ต้นสน กิเลนคู่ ต้นไผ่
- พริกไทย เช่น ไร่ทิพย์ มือที่ 1 ศรีจันทร์
- พริกป่น เช่น ไร่ทิพย์ ข้าวทอง
- ผงชูรส เช่น รสดี ฟ้าไทย อายิโนะโมะโต๊ะ
- ซุปก้อน เช่น คนอร์ รสดี
- เต้าหู้ไข่ เช่น นางพยาบาล เกษตร
1.3 ‘ของกิน’ และของตุน
- ไข่ไก่
- ปลากระป๋อง เช่น สามแม่ครัว โรซ่า
- ปลาราดพริก เช่น โรซ่า ฉู่ฉี่แมคเคอเรล
- หอยลายกระป๋อง เช่น ปุ้มปุ้ย
- ผักกาดกระป๋อง เช่น นกพิราบ โรซ่า
- บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เช่น มาม่า ยำยำ ไวไว
1.4 ‘ขนม’ เติมความเพลิดเพลิน
- ขนมขบเคี้ยว เช่น เลย์ เทสโต้ โปเต้ แจ็กซ์
- ขนมคุ้กกี้ เช่น ฟันโอ ดิวเบอร์รี่
- ขนมเวเฟอร์ เช่น วอยซ์
- ขนมเค้ก เช่น ยูโร่คัสตาร์ดเค้ก
- ขนมปัง เช่น ฟาร์มเฮ้าส์ เลอแปง
- ขนมช็อกโกแลต เช่น ทิวลี่ คิทแคท โชกี้โชกี้
- ขนมเยลลี่ เช่น ปีโป้ จอลลี่
- ลูกอม เช่น โอเล่ ฮอลล์ เมนทอส
- หมากฝรั่ง เช่น เดนทีน คลอเร็ท
1.5 ‘เครื่องเทศ-ของกินแบบแผง’ หยิบง่าย ขายคล่อง
- กระเทียม
- หอมแดง
- ถั่วลิสง
- ปลาหมึกแห้ง
- พริกป่น
- พริกไทย
- แคปหมู
- ปลาตากแห้ง
- หนังปลากรอบ
ดูแหล่งซื้อสินค้าแบบแผงได้ที่ > ของเล่นแผง ขนม อาหาร เครื่องเทศแผง จากกระทู้ FB รวมพลคนโชห่วย-ร้านของชำ ได้เลยค่ะ
Tips by writer
- การแบ่งขาย : สินค้าประเภทเครื่องปรุงหรือของกินในครัว คุณสามารถประหยัดงบประมาณมากขึ้นได้ด้วยการซื้อสินค้าขายส่งที่เป็นแบบแผงหรือแบบกระสอบใหญ่มาแบ่งขายได้ เช่น พริกไทย พริกป่น น้ำตาลทรายแดง
- บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป : ควรนำยี่ห้อที่นิยมในปัจจุบันมาขายด้วย เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าวัยรุ่น วัยกลางคนด้วยเพราะปัจจุบันวัยรุ่นอย่างผู้เขียนเอง จะชอบกินมาม่าเกาหลีมากกว่า ยี่ห้อที่แนะนำเลยก็จะเป็น มาม่าโอเรนทัล นิชชิน
- ขนมเด็ก : ถ้าบริเวณที่คุณเปิดร้านมีเด็กเยอะ ควรนำขนมที่มีของแถมสำหรับเด็ก หรือขนมที่เด็ก ๆ ฮิตกันในช่วงนั้น จะทำให้เด็กมาซื้อของที่ร้านของคุณบ่อยขึ้น
- สินค้า O-Top : ถ้าคุณมีสินค้าแบบอื่นที่ร้านสะดวกซื้อทั่วไปไม่ขายกัน การนำสินค้าเหล่านี้มาขาย จะช่วยเพิ่มความแตกต่างให้กับร้านขายของชำของคุณได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ ยิ่งถ้าคนซื้อชอบแล้วเอาไปบอกต่อ ร้านของคุณติดลมบนแน่ ๆ
2. ‘ของใช้’ หรือสินค้าอุปโภค

เรื่องของใช้ ต้องมีไว้ติดบ้าน
รายการสินค้าในร้านขายของชำ นอกจากของกินแล้ว ของใช้หรือสินค้าอุปโภคก็เป็นสิ่งที่ทุกคนจะต้องซื้อมาไว้ติดบ้านอยู่เป็นประจำ ของใช้ที่ควรซื้อมาติดร้านขายของชำบน ชั้นวางสินค้า ของคุณจะมีอะไรบ้าง มาเช็กลิสต์กันค่ะ
2.1 สินค้าอุปโภคใน ‘ห้องน้ำ’
- แปรงสีฟัน เช่น ซิสเท็มมา ซอลส์
- ยาสีฟัน เช่น คอลเกต ดาร์ลี่
- น้ำบ้วนปาก เช่น ลิสเตอรีน คอลเกต
- สบู่ เช่น ลักซ์ นกแก้ว
- ครีมอาบน้ำ เช่น บีไนซ์ โชกุบุสซึ
- โฟมล้างหน้า เช่น การ์นิเย่ บีโอเร
- ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น
- แชมพู เช่น ซันซิล แพนทีน โดฟ
- ครีมนวด เช่น ซันซิล แพนทีน โดฟ
- ผ้าอนามัย เช่น ลอรีเอะ โมเดส
2.2 สินค้าอุปโภคบน ‘โต๊ะเครื่องแป้ง’
- แป้ง เช่น แคร์ เบบี้มายด์
- ครีมทาหน้า เช่น โอเลย์ ลอรีอัล
- ครีมทาผิว เช่น นีเวีย เภสัช
- ครีมกันแดด เช่น วาสลีน
- เซรั่มบำรุงผม
- น้ำหอม โคโลญ เช่น ทเวลพลัส
- โรลออน เช่น เรโซนา
- กระดาษทิชชู่ เช่น คลีเน็กซ์
- ลิปสติก ลิปบาล์ม เช่น วาสลีน นีเวีย
- น้ำยาล้างเล็บ
- น้ำมันมะกอก
- สำลี คอตตอนบัต
2.3 สินค้าอุปโภคที่ ‘ห้องซักล้าง’
- ผงซักฟอก เช่น บรีส โอโม่
- น้ำยาปรับผ้านุ่ม เช่น ดาวนี่ คอมฟอร์ท
- น้ำยาซักผ้าขาว เช่น ไฮเตอร์
- น้ำยาล้างจาน เช่น ซันไลท์ ไลปอนเอฟ
- ฟองน้ำล้างจาน เช่น สก็อตไบร์ท
- น้ำยาล้างรถ เช่น 3M คาร์โก้
- น้ำยาถูพื้น เช่น มาจิคลีน
- น้ำยาล้างห้องน้ำ เช่น เป็ดโปร วิกซอล
2.4 ‘ของใช้ในบ้าน’ ที่จำเป็น
- ยากันยุง
- ครีมทากันยุง
- ถ่านไฟฉาย
- ถ่านรีโมท
- เทียนไข
- ธูป
- ยาสามัญประจำบ้าน
- ยาหม่อง
- ยาแก้ปวด
- ยาแก้แพ้
- พลาสเตอร์
- หวี
- แหนบ
- กรรไกร
- กรรไกรตัดเล็บ
- กาวตราช้าง
3. ‘เครื่องดื่ม’ ดับกระหาย

เครื่องดื่ม อย่าลืมเด็ดขาด
เครื่องดื่มถือว่าเป็นสินค้าในร้านขายของชำที่ขาดไม่ได้เลย หากคุณมี ตู้แช่เย็น เตรียมพร้อมแล้ว เรามาดูเครื่องดื่มที่ต้องซื้อติดตู้แช่กันค่ะ ว่าควรมีอะไรบ้าง
- น้ำดื่ม เช่น คริสตัล น้ำทิพย์
- เหล้า เช่น แสงโสม เบลนด์ 285
- เบียร์ เบียร์กระป๋อง เช่น ช้าง ลีโอ
- โซดา เช่น สิงห์ ช้าง
- น้ำอัดลม เช่น โค้ก แฟนต้า เป๊บซี่
- เครื่องดื่มชูกำลัง เช่น M-150 กระทิงแดง
- ชา เช่น อิชิตัน โออิชิ
- กาแฟ เช่น เนสกาแฟ เบอร์ดี้
- นม เช่น เมจิ โฟร์โมสต์ ไมโล
- นมถั่วเหลือง เช่น แลคตาซอย ไวตามิลค์
- นมเปรี้ยว เช่น ดัชมิลค์ บีทาเก้น
- โยเกิร์ต เช่น ดัชชี่ เมจิ
- น้ำผลไม้ เช่น ยูนิฟ ดอยคำ
- น้ำหวาน เช่น เฮลบลูบอย
- เต้าฮวยนมสด
Tips by writer
- เครื่องดื่มที่เป็นเบียร์ : หากคุณมีงบมากพอ ควรซื้อตู้แช่เบียร์วุ้นติดร้านไว้ด้วย เพราะกำไรส่วนใหญ่ของร้านขายของชำ มักจะมาจากเหล้าเบียร์ ถ้าคนซื้อเขาเอนจอยที่จะดื่มเบียร์เย็น ๆ ที่เป็นวุ้น การมีไอเทมนี้ติดร้าน ก็ดีไม่ใช่น้อยเลยนะ
- ไอศกรีม : ปกติร้านขายของชำก็จะมีตู้ไอศกรีมแยกต่างหาก ไม่ว่าจะเป็น วอลล์หรือเนสเล่ ก็ขึ้นอยู่ที่ว่าเจ้าของร้านจะสั่งจากแบรนด์ไหนค่ะ
- น้ำแข็ง : ที่ร้านของคุณควรมีถังน้ำแข็งไว้คอยให้บริการแก่ลูกค้าด้วย เรียกได้ว่าเป็นกำไรอีกอย่างนึงเลยนะคะ (เพราะตัวผู้เขียนเอง ก็ไปซื้อน้ำแข็งจากร้านขายของชำบ่อยมาก) ตรงนี้ก็ควรจะซื้อถังน้ำแข็งมาไว้ที่ร้านด้วยค่ะ
4. สินค้าและบริการอื่น ๆ

บริการเสริม เพิ่มรายได้
นอกจากสินค้าที่จำเป็นในการอุปโภค-บริโภค สินค้าและบริการอื่น ๆ ก็ควรมีในร้านขายของชำของคุณเช่นกันค่ะ เรามาดูกันว่ามีอะไรบ้าง
- บริการเติมเงิน : ซื้อตู้บุญเติม หรือตู้เติมเงินอื่น ๆ มาตั้งไว้ที่ร้าน ให้ร้านขายของชำของคุณครบครัน เป็นร้านแรก ๆ ที่ผู้คนจะเดินมาจับจ่ายใช้สอย
- บริการส่งฟรี : ในการเริ่มต้นเปิดร้าน วิธีนี้ก็อาจจะทำให้ทำเป็นโปรโมชั่นด้วยการส่งฟรีไม่มีขั้นต่ำ เมื่อผ่านช่วงโปรโมชั่นไปแล้ว อาจจะเป็นส่งฟรีขั้นต่ำ 50 บาทก็ได้ค่ะ (อย่างน้อยก็ให้ขั้นต่ำน้อยกว่า 7-11 ไว้ก่อน) การมีบริการแบบนี้ จะทำให้เมื่อลูกค้าจะสั่งซื้อสินค้า พวกเขาจะนึกถึงร้านของคุณก่อน
- บริการเติมน้ำมัน : ซื้อตู้เติมน้ำมันมาไว้ที่หน้าร้าน หรือถ้ามันแพงเกินไป การทำกำไรอีกอย่างหนึ่งที่คุณทำได้ในร้านขายของชำนั่นก็คือ น้ำมันแบ่งขาย ที่เป็นขวดกรอก ซึ่งไอเทมที่จะตอบโจทย์การขายสินค้าประเภทนี้ ก็คือ ชั้นวางขวดน้ำมัน นั่นเองค่ะ
- ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ : การซื้อน้ำแบบขวดไปไว้ที่บ้าน ก็อาจเป็นอะไรที่แพงสำหรับลูกค้าบางคน หากคุณมีทางเลือกที่ประหยัดกว่าอย่าง ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ จะทำให้พวกเขาประหยัดเงินได้เยอะ และคุณก็จะได้กำไรอีกทางหนึ่งด้วยนะ

ทิ้งท้าย by writer
ได้ลิสต์ที่ถูกใจสำหรับรายการสินค้าในร้านขายของชํากันรึเปล่าคะ? หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับทุกคนที่กำลังจะ เปิดร้านขายของชำ เปิดร้านมินิมาร์ท หรือร้านสะดวกซื้อกันนะคะ มาทวนกันหน่อยว่าเราได้ลิสต์อะไรไปในบทความนี้บ้าง
- สินค้าบริโภค เช่น ขนม น้ำมันพืช ผงชูรส ซุปก้อน น้ำปลา น้ำส้มสายชู ซีอิ๊ว ซอส ไข่ไก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง เกลือ น้ำตาล น้ำจิ้มสุกี้
- สินค้าอุปโภค เช่น สบู่ แชมพู ครีมนวด ยาสีฟัน ครีมอาบน้ำ ครีมทาผิว แป้ง ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยาล้างจาน ผ้าอนามัย
- เครื่องดื่ม เช่น น้ำดื่ม นม น้ำหวาน ชาเขียว เครื่องดื่มชูกำลัง กาแฟ เบียร์ สุรา โซดา น้ำอัดลม น้ำผลไม้
- ของใช้อื่น ๆ เช่น ไฟแช็ค ถ่านไฟฉาย ถ่านก่อไฟ เทียนไข ธูป ยากันยุง ฟองน้ำล้างจาน ยาสามัญประจำบ้าน
ในการไปซื้อสินค้าต่าง ๆ ถ้ามีลิสต์เป็นหมวดหมู่สินค้า ร้านค้าปลีกหลัก ๆ ตามนี้ก็โอเคแล้วค่ะ แรก ๆ คุณอาจจะนำมาขายเฉพาะสินค้าที่คนมักจะใช้ประจำ (อย่างที่เราได้ยกตัวอย่างแบรนด์สินค้าต่อท้าย) แต่ถ้าเริ่มขายไปเรื่อย ๆ คุณจะเริ่มรู้ว่าผู้บริโภคต้องการสินค้าแบรนด์ไหนบ้าง จากนั้นค่อย ๆ ขยับขยายต่อเติมไปค่ะ
✨ผู้เขียนขอเป็นกำลังใจและขออวยพรให้ทุกคนที่จะเริ่มต้นธุรกิจเปิดร้านใหม่ ประสบความสำเร็จ ได้กำไรเยอะ ๆ เงินทองไหลมาเทมานะคะ ✨ เราจะพยายามนำคอนเทนต์ต่าง ๆ มาอัพเดตให้ทุกคนได้อ่านกันอีกเยอะ ๆ เลยน้า ฝากติดตามบทความดี ๆ จาก PN Storetailer ด้วยค่ะ
ฝากร้านหน่อยน้า 😀
#ฝาก1 ชั้นวางสินค้าสำเร็จรูป BIGBEST อุปกรณ์มาร์ท 10 สาขา ทั่วประเทศ > ชั้นวางสินค้าสำเร็จรูปและสั่งผลิต 10 สาขา สำหรับคนที่ต้องการเปิดร้านขายของชำ ร้านมินิมาร์ท ร้านขายอาหารสัตว์ ร้านขายยา ร้านขายเครื่องสำอาง และร้านค้าปลีกอื่น ๆ
#ฝาก2 ชั้นวางสินค้าสั่งผลิต PN รับออกแบบร้านค้า วางแปลน ครบวงจร > ชั้นวางสินค้าสั่งผลิต สำหรับร้านค้าขนาดใหญ่ สำหรับคนที่ต้องการเปิดร้านซูเปอร์สโตร์ ร้านวัสดุก่อสร้าง ร้านอุปกรณ์การเกษตร ร้านฮาร์ดแวร์ และร้านค้าปลีกขนาดใหญ่อื่น ๆ
หรือคลิกที่ด้านล่างเลยค่ะ
บทความแนะนำ
12 วิธี ปรับตัวเป็น ร้านขายของชำยุคใหม่ ไม่เพียงแค่อยู่รอด.. แต่ต้องปังและรวย!
How to ทำให้ร้านขายของชำเล็ก ๆ ของคุณอยู่รอดกลายเป็นร้านขายของชำยุคใหม่ ในขณะที่กิจการยักษ์ใหญ่และคู่แข่งอย่างร้านเล็ก ๆ ด้วยกันเองกระจายอยู่รอบตัว..
พ.ย.
แนะนำ 7 วิธีเตรียม เปิดร้านขายของชำ แบบละเอียด
รวบรวม 7 แนวทางการเตรียมตัวเปิดร้านขายของชำ ตั้งแต่ต้นจนจบ และทริคต่าง ๆ ไว้ให้สำหรับคนที่ต้องการหาความรู้เพิ่ม พร้อมลิ้งก์สำหรับคลิกอ่าน
พ.ค.
9 เคล็ดลับจัดร้านขายของชำให้น่าเข้าและดึงดูดลูกค้าได้อย่างล้นหลาม
ผู้คนเลือกเดินซื้อของที่ร้าน เพราะต้องการเข้ามาดูสินค้าด้วยตาตัวเอง เราจึงมาบอกต่อเคล็ดลับเพื่อเพิ่มทักษะในการจัดร้านขายของชำเพื่อให้ดึงดูดลูกค้าเข้ามาในร้าน
ธ.ค.