แนะนำ 7 วิธีเตรียม เปิดร้านขายของชำ แบบละเอียด

เปิดร้านขายของชำ

ไม่ว่าจะอยู่จังหวัดไหน ทำอาชีพแบบใดอยู่ ‘การสร้างรายได้เพิ่ม’ เป็นสิ่งที่หลาย ๆ คนกำลังมองหา เพื่อเริ่มต้นธุรกิจและต่อยอดเงินที่มีอยู่ให้มีรายได้เพิ่มขึ้นมา

การ “เปิดร้านขายของชำ” ร้านโชห่วย หรือเปิดร้านมินิมาร์ทในชุมชน เป็นลิสต์ธุรกิจแรก ๆ ที่หลายคนนึกถึง เพราะดูเหมือนจะทำได้ง่าย ๆ และตอบโจทย์สำหรับคนในชุมชนที่ต้องการซื้อสินค้าอุปโภค-บริโภคไปใช้ในครัวเรือน

แต่การเริ่มต้นอะไรสักอย่าง ต้องมีการเตรียมความพร้อมที่ดี

เนื้อหาต่อไปนี้ เราจะรวบรวม 7 แนวทางการเตรียมตัวเปิดร้านขายของชำ ตั้งแต่ต้นจนจบ และทริคต่าง ๆ ไว้ให้สำหรับคนที่ต้องการหาความรู้เพิ่ม นำประกอบการตัดสินใจว่าควรเปิดดีไหม? แล้วถ้าเปิดควรเริ่มอย่างไรดี พร้อมลิ้งก์สำหรับคลิกอ่านเพิ่มเติมเพื่อเป็นการเตรียมข้อมูลได้อย่างครบถ้วนสำหรับทุกคนค่ะ 😀

1. ‘เตรียมความพร้อม’ เช็กลิสต์ก่อนเริ่ม

ก่อนคิดจะเปิดร้านขายของชำ เราจะต้องเตรียมความพร้อมของตัวเราเอง เพื่อเป็นการเริ่มต้น มาเช็กสิ่งเหล่านี้กันว่าคุณพร้อมแล้วหรือยัง ที่จะเปิดร้านขายของชำหรือร้านมินิมาร์ท?

เตรียมความพร้อม เช็กลิสต์ก่อนเริ่มเปิดร้านขายของชำ

1.1 เช็กทำเล

ทำเลเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ อันดับต้น ๆ ไม่ว่าคุณจะเปิดร้านอะไรก็ตาม จะต้องมีทำเลที่ดีและเหมาะสมก่อน ถึงจะเปิดร้านได้ สำหรับร้านขายของชำและร้านมินิมาร์ท ทำเลที่ดีนั้นจะต้องมีดังนี้

1.1.1 อยู่ในพื้นที่ชุมชน เช่น ในหมู่บ้าน บริเวณโรงเรียน บริเวณตลาด ใต้อพาร์ทเม้นท์

หากคุณต้องการเปิดเพื่อหารายได้เสริม ไม่จำเป็นต้องเป็นชุมชนขนาดใหญ่ก็ได้นะคะ

#อย่างบ้านผู้เขียนเอง ก็เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่มีร้านขายของชำเหมือนกัน แม้จะมี 7-11 อยู่หน้าปากซอย แต่พ่อแม่เราและตัวเราเองก็เดินไปซื้อที่ร้านชำบ่อย ๆ เพราะถ้าสั่งซื้อเซเว่น ต้องสั่งขั้นต่ำ 100 บาท (เราจะสั่งก็ต่อเมื่ออยากกินอะไรที่มีเฉพาะใน 7-11 เช่น ชานมไต้หวันใส่บุก แต่ถ้าสมมติว่าอยากกินเป๊บซี่ เราก็จะเดินไปซื้อที่ร้านชำค่ะ) หรือถ้าจะขี่มอไซค์ออกไปก็ขี้เกียจ ซื้อในร้านขายของชำในหมู่บ้านง่ายที่สุดแล้วค่า

แต่หากต้องการเปิดเป็นรายได้หลัก อาจจะต้องศึกษาเรื่องทำเลดี ๆ ก่อนนะ ต้องเอาให้ชัวร์ที่สุดว่าเปิดตรงนี้แล้วจะไม่ขาดทุน และคนจะแวะมาซื้อบ่อย ๆ

1.1.2 ไม่อยู่ใกล้กับร้านสะดวกซื้อที่เป็นของนายทุน

ไม่ว่าจะเป็น 7-11, Mini Big-C, Lotus’s go fresh หรืออื่น ๆ เราไม่ควรไปอยู่ใกล้เค้าเลยค่ะ เพราะถ้าอยู่ใกล้ ยังไงซะ คนส่วนใหญ่ก็จะเดินเข้าร้านสะดวกซื้อเหล่านี้อยู่แล้ว ถ้าร้านของเราไม่ใหญ่กว่า ไม่มีสินค้าที่ครบกว่า ไม่มีสินค้าที่แตกต่าง ไม่มีความสะดวกที่มากกว่า เราก็เอาชนะเค้ายากแน่ ๆ

ทางที่ดีเราควรไปหาทำเลที่ห่างจากเค้า เจาะตลาดอย่างที่เราบอกไปข้อก่อนหน้านี้ อย่างในหมู่บ้านอะไรแบบนี้ดีกว่า

1.2 เช็กคู่แข่งก่อน

จริง ๆ การเปิดในบริเวณที่มีคู่แข่งก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรเท่าไหร่นะคะ เพราะถ้าเขาเปิดอยู่ก่อนหน้าแล้วเราเปิดมาแข่ง มันค่อนข้างที่จะเสี่ยง เพราะต้องแย่งลูกค้ากัน ไม่เขาก็เราที่จะต้องขายได้มากกว่ากันแน่นอน (แนะนำว่าควรหาพื้นที่ที่ไม่มีคู่แข่งใกล้กันแบบชัดเจนจะดีกว่าน้า)

# อย่างในหมู่บ้านของเรา ก็มีร้านขายของชำอยู่ 2 ร้านนะคะ แต่เขาอยู่กันคนละซอย ก็เหมือนเป็นการแบ่งเขตกันไปเลย อย่างน้อยแต่ละซอยก็มีลูกค้าเป็นของตัวเอง

(ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับสินค้าร้านของคุณด้วย ว่ามีสินค้ามาพอที่จะตอบโจทย์ลูกค้าหรือเปล่า หรือจะเป็นองค์ประกอบอื่น ๆ อย่างเช่น อัธยาศัยของเจ้าของร้าน อะไรแบบนี้ค่ะ)

1.3 เช็กคนซื้อ

ต้องสำรวจก่อนว่า คนส่วนใหญ่ในบริเวณนั้นอยู่ในวัยไหน มีรสนิยมแบบใด ส่วนใหญ่พวกเขาประกอบอาชีพอะไร และเขาลำบากมั้ย ที่จะต้องเดินทางไปซื้อของบางอย่างไกล ๆ และมันจะดีกว่ามั้ย? ถ้าคุณเป็นร้าน ๆ นั้น ที่นำสินค้าเหล่านั้นมาขายเอง รวมถึงเปิดร้านชำขายสินค้าอื่น ๆ เสริมไปด้วย

การเช็กคนซื้อด้วยการสำรวจ ทำการบ้าน ศึกษาข้อมูลกับผู้บริโภค เป็นอะไรที่ตรงตัวที่สุด เราจะได้หาสินค้ามาลงได้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายยังไงล่ะคะ

1.4 เช็กพื้นที่

นอกจากทำเลแล้ว พื้นที่ที่คุณกำลังจะเปิดร้านขายของชำพร้อมหรือยังนะ? บางคนอาจจะมีพื้นที่หน้าบ้าน พื้นที่ข้างบ้าน หรือมีห้อง/มีตึกเป็นของตัวเองแล้ว ก็อาจจะง่ายสำหรับเขาหน่อย เพราะไม่ต้องทำอะไรเพิ่มมากมาย แค่นำชั้นวางสินค้ามาลง, นำ อุปกรณ์ร้านค้า มาลง นำสินค้าที่จะขายมาลง ก็เปิดร้านได้แล้ว

แต่บางคนอาจจะไม่มีพื้นที่ ก็จะต้องสร้างใหม่ ต่อเติม หรือรีโนเวท เพื่อที่จะได้มายังพื้นที่ในการเปิดร้าน ซึ่งงบประมาณก็ต้องเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ตรงนี้ก็ต้องดูเงินทุนของคุณด้วยน้า ว่ามันจะคุ้มหรือเปล่า ถ้าคิดว่าคุ้มก็ลุยเลยค่ะ! 😀

2. ‘เตรียมขออนุญาต’ และจดทะเบียน

ในการเปิดร้านขายของชำ จะต้องมีการขออนุญาตและจดทะเบียนจากราชการก่อนถึงจะเปิดได้อย่างสบายใจและถูกกฏหมาย โดยที่ไม่มีหน่วยงานต่าง ๆ มาทวงถามทีหลัง

💬 เปิดร้านขายของชํา ต้องจดทะเบียนอะไรบ้าง?

💬 เปิดร้านขายของชํา ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง?

เราลิสต์มาไว้ให้ทุกคนแล้วค่ะ

2.1 การขออนุญาต

  • ขอใบอนุญาตจาก “กรมสรรพสามิต”
IMAGE SECTION 02 Beer

เหล้า เบียร์ บุหรี่ เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ และแทบจะเป็นกำไรหลัก ๆ ของร้านขายของชำส่วนใหญ่เลยก็ว่าได้ค่ะ ถ้าคุณจะเปิดร้านประเภทนี้ และจำเป็นต้องขายสินค้าเหล่านี้ จะต้องขออนุญาตจากกรมสรรพสามิตก่อนนะ ซึ่งเดี๋ยวนี้การขออนุญาตก็สามารถทำได้ผ่านอินเทอร์เน็ต คลิกดูข้อมูลได้ที่เว็บของกรมสรรพสามิตได้เลย การขอใบอนุญาตสุรา ยาสูบ ไพ่ ผ่านอินเทอร์เน็ต เค้ามีบอกคู่มือการลงทะเบียน เงื่อนไข และเอกสารต่าง ๆ ไว้ในครบเลยค่ะทุกคน หรือจะติดต่อสอบถามได้ที่สายด่วน 1713 ก็ได้ค่ะ

2.2 การจดทะเบียนพาณิชย์และการเสียภาษี

2.2.1 จดทะเบียนพาณิชย์ร้านค้า

ถ้าจะเปิดร้านขายของชำ หากคุณไม่อยากให้เจ้าหน้าที่มาตรวจสอบภายหลัง ก็ทำให้ถูกต้องตั้งแต่แรกด้วยการไปแจ้งเรื่องจดทะเบียนพาณิชย์ที่อบต.หรือเทศบาลในชุมชนของคุณหลังจากเปิดร้าน เพื่อเป็นการแจ้งทางราชการว่าคุณได้เปิดธุรกิจในชุมชน และทำธุรกิจอย่างถูกต้องตามกฏหมาย ซึ่งเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือกับร้านค้าของคุณด้วย

โดยการจดทะเบียนก็จะมีทั้งแบบบุคคลธรรมดาที่เป็นเจ้าของเพียงคนเดียว และแบบนิติบุคคล ที่เป็นแบบห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท โดยรายละเอียด เงื่อนไขและเอกสารที่ต้องเตรียม สามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ การจดทะเบียนพาณิชย์(ร้านค้า/บุคคลธรรมดา) ของเว็บ DBD ซึ่งเป็นเว็บของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้เลยค่ะ เค้ามีบอกรายละเอียดไว้หมดเลย หรือจะสอบถามที่สายด่วน 1570 ก็ได้ค่ะ

2.2.2 การเสีย “ภาษีเงินได้” ให้ “กรมสรรพากร”

หลังจากที่คุณจดทะเบียนพาณิชย์เรียบร้อยแล้ว ก็ถือว่าคุณได้แจ้งเรื่องให้ราชการทราบแล้วค่ะ ทีนี้การเสียภาษีล่ะ ต้องทำยังไง? 

การจ่ายภาษีเท่าไหร่นั้นก็ขึ้นอยู่กับรายได้ต่อปีของคุณค่ะ หลังจากที่ทำธุรกิจไปสักพักแล้ว ในอนาคตทางร้านก็ต้องมีการทำบัญชีและมีหน้าที่ยื่นภาษีเงินได้ให้สรรพากร หากรายได้ต่อปีถึงเกณฑ์ ก็จะต้องทำการเสียภาษีให้เรียบร้อยค่ะ หรือถ้าคุณไม่ยื่นด้วยตัวเอง ก็จะมีสรรพากรเข้ามาตรวจทีหลังและปรับย้อนหลังได้นะ อ่านทำความเข้าใจเรื่องภาษีในเว็บของกรมสรรพากรในลิ้งก์นี้ก่อนก็ได้ค่ะ คู่มือภาษีสำหรับผู้ประกอบการ เค้ามีลิ้งก์ให้คลิกอ่านในทุก ๆ ประเด็นเลย หรือโทรสอบถามรายละเอียดที่สายด่วน 1161

2.2.3 ภาษีโรงเรือน ภาษีบำรุงท้องที่ และภาษีป้าย

นอกจากนี้ทางอบต.หรือเทศบาลก็จะมาเก็บภาษีโรงเรือน ภาษีบำรุงท้องที่ที่ร้านของคุณทุกปี ถ้าร้านของคุณมีป้ายหน้าร้าน ก็จะต้องเสียภาษีป้ายด้วยค่ะ อ่านเพิ่มเติม ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย ภาษีบำรุงท้องที่

นี่เป็นข้อมูลคร่าว ๆ แบบสรุปนะคะ ทุกคนสามารถสอบถามทางเจ้าหน้าที่อบต.หรือเทศบาลในชุมชนเบื้องต้นก่อนได้ เจ้าหน้าที่น่าจะแจกแจงรายละเอียดครบทุกอย่างที่ทุกคนอยากรู้แน่นอนค่ะ

3. ‘เตรียมเงินทุน’ ให้เหมาะกับขนาดร้าน

ประเด็นสำหรับการเปิดร้านของของชำที่ 99% อยากรู้นั่นก็คือ

💬 เปิดร้านขายของชํา ลงทุนเท่าไหร่?

เราจะบอกแบบนี้ค่ะ สำหรับเรื่อง งบประมาณ ในการเปิดร้านขายของชำ นั้นขึ้นอยู่กับพื้นที่ของคุณว่าคุณต้องการเปิดร้านขนาดใหญ่แค่ไหน ถ้าคุณมีพื้นที่หน้าบ้าน พื้นที่ข้างบ้านในการเปิดร้าน ก็น่าจะง่ายกับคุณหน่อยน้า แต่ถ้าไม่มี การก่อสร้างร้านใหม่หรือการเช่าพื้นที่ในการเปิดร้าน งบอาจจะบานปลาย ต้องมีทุนสำรองไว้ “หลักหลายแสน” เลยทีเดียวค่ะ

เตรียมเงินทุนสำหรับเปิดร้านขายของชำ

เราจะขอแบ่งการเตรียมเงินทุนเป็นแบบนี้แล้วกันนะคะ

3.1 ร้านเล็ก มีพื้นที่อยู่แล้ว ต้องเตรียมประมาณ 40,000 – 50,000 บาท

ราคาสิ่งที่จะได้ก็ประมาณนี้ค่ะ

ร้านขายของชำขนาดเล็ก

ภาพจาก : Facebook.com/BIGBESTGROUP

อุปกรณ์ภายในร้านจะประกอบไปด้วย

  • ค่าชั้นวางสินค้าเซตเล็ก ๆ (+เคาน์เตอร์คิดเงิน)
  • ตู้แช่ประตู 1 – 2 ประตู

และรวมค่าซื้อของมาเติมในร้านประมาณ 600 รายการ

3.2 ร้านขนาดกลาง มีพื้นที่อยู่แล้ว ต้องเตรียมประมาณ 55,000 – 90,000 บาท

ราคานี้สิ่งที่จะได้ก็จะประมาณนี้ค่ะ

ร้านขายของชำขนาดกลาง

ภาพจาก : Facebook.com/BIGBESTGROUP

อุปกรณ์ภายในร้านจะประกอบไปด้วย

  • ค่าชั้นวางสินค้าเซตกลาง (+เคาน์เตอร์คิดเงิน)
  • ตู้แช่ประตู 2-3 ประตู

และรวมค่าซื้อของมาเติมในร้านประมาณ 1,000 รายการ

3.3 ร้านขนาดใหญ่ มีพื้นที่อยู่แล้ว ต้องเตรียมประมาณ 95,000 – 150,000 บาท

ราคานี้สิ่งที่จะได้ก็จะประมาณนี้ค่ะ

ร้านขายของชำขนาดใหญ่

ภาพจาก : Facebook.com/BIGBESTGROUP

อุปกรณ์ภายในร้านจะประกอบไปด้วย

  • ค่าชั้นวางสินค้าเซตใหญ่ (+เคาน์เตอร์คิดเงิน)
  • ตู้แช่ประตู 2-3 ประตู

และรวมค่าซื้อของมาเติมในร้านประมาณ 2,000 รายการ

3.4 ส่วนการเปิดร้านใหม่โดยที่ยังไม่มีพื้นที่ ต้องใช้งบหลักแสน อาจเริ่มที่ 100,000 – 300,000 บาท

3.4Grocery store start to open new stores

ภาพจาก : Facebook.com/BIGBESTGROUP

ราคาทุกอย่างจะขึ้นอยู่กับขนาดของร้าน ค่าก่อสร้าง ชั้นวางสินค้าและอุปกรณ์เปิดร้าน รวมถึงซื้อของมาลงเพื่อหมุนเวียน ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับตัวผู้เปิดร้านเองด้วยว่าจะประหยัดงบ เพิ่มหรือลดค่าจ่ายในส่วนใดบ้างค่ะ

4. ‘เตรียมอุปกรณ์’ เปิดร้านขายของชํา

หลังจากที่ได้ทราบราคาคร่าว ๆ ของการเตรียมงบทั้งหมดในการเปิดร้านไปแล้ว เรามาดูในส่วนของอุปกรณ์เปิดร้านขายของชำกันค่ะว่าควรเตรียมอะไรบ้าง

หลัก ๆ เลยที่จะต้องมี 3 อย่างยืนพื้น นั่นก็คือชั้นวางสินค้า, ตู้แช่ และเคาน์เตอร์คิดเงิน ส่วนองค์ประกอบอื่น ๆ อาจจะนำมาเสริมได้ก็อย่างเช่น ตู้แช่เบียร์วุ้น และชั้นวางขวดน้ำมัน

4.1 ชั้นวางสินค้า สวย ๆ

ชั้นวางสินค้าจะมีทั้งแบบหน้าเดียวและสองหน้า หน้าเดียวสำหรับวางริมผนัง สองหน้าสำหรับวางกลางห้อง เซตเริ่มต้นอาจจะนำชั้นวางริมผนังกับชั้นกลางห้องมาอย่างละเซตก็ได้ค่ะ

Shelf Products Wall Single Side BigBest Punnasa Minimart

ชั้นวางสินค้าริมผนัง

ชั้นวางสินค้ากลางห้อง สำหรับเปิดร้านขายของชำ

ชั้นวางสินค้ากลางห้อง

4.2 ตู้แช่เย็น เพิ่มความคูล

ด้วยความที่รายได้หลักของการเปิดร้านขายของชำจะมาจากเครื่องดื่มหลากชนิด ทั้งเครื่องดื่มชูกำลัง น้ำอัดลม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การมีตู้แช่ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ เลย

ตู้แช่สำหรับเปิดร้านขายของชำ

4.3 เคาน์เตอร์คิดเงิน รับทรัพย์รัว ๆ

เคาน์เตอร์คิดเงินหรือโต๊ะเก็บเงิน สำหรับบางร้านอาจจะคิดว่าไม่จำเป็น ก็สามารถใช้โต๊ะที่มีอยู่ในบ้านมาประยุกต์ใช้ก็ได้ค่ะ แต่เราแนะนำว่า ถ้าอยากให้ร้านดูพรีเมี่ยมและน่าเข้ามาซื้อมาขึ้น การมีเคาน์เตอร์คิดเงินสวย ๆ ในร้านด้วยก็ดีนะคะ

เคาน์เตอร์คิดเงินสำหรับเปิดร้านขายของชำ

ภาพจาก : Facebook.com/BIGBESTGROUP

แค่มี 3 สิ่งนี้คุณก็เปิดร้านขายของชำได้แล้วนะ สำหรับคนงบน้อยอาจจะเริ่มต้นด้วยเซตเท่านี้ แล้วค่อยขยับขยายก็ได้ค่ะ ส่วนใครที่อยากได้ครบ ๆ กว่านี้หน่อย อาจจะเพิ่ม

  • ตู้แช่เบียร์วุ้น สำหรับแช่เบียร์โดยเฉพาะ เพื่ออรรถรสของลูกค้าที่จะได้ดื่มเบียร์เย็น ๆ
  • ชั้นวางขวด สำหรับวางขวดน้ำมันขาย เพิ่มกำไรให้กับร้านมากยิ่งขึ้น
  • ชั้นตะกร้า สำหรับใส่สินค้าชิ้นเล็ก ๆ หรือของเล่นเด็ก

หรือถ้าทุกคนอยากรู้เพิ่มอีกว่าควรมีอุปกรณ์ร้านค้าแบบไหนบ้าง สามารถคลิกอ่าน 👉 10 อุปกรณ์เปิดร้านขายของชํา มีติดร้านไว้ เพิ่มรายได้ทะลุเป้า ที่ตัวเราเองได้ลิสต์ไว้ในเว็บบิ๊กเบสก็ได้ค่ะ

แบนเนอร์ CTA สำหรับ PC BIGBEST อุปกรณ์มาร์ท ชั้นวางสินค้า เคาน์เตอร์คิดเงิน ตู้แช่
แบนเนอร์ CTA สำหรับ Mobile BIGBEST อุปกรณ์มาร์ท ชั้นวางสินค้า เคาน์เตอร์คิดเงิน ตู้แช่

5. เตรียมแหล่งซื้อของ ‘ใกล้บ้าน’

การเตรียมแหล่งซื้อของก็จะต้องซื้อที่ ร้านขายส่ง, ห้างขายส่ง และตัวแทน (เซลล์) เจ้าของ Facebook โชห่วย ชุนชน บอกในกลุ่ม รวมพลคนโชห่วย-ร้านของชำ ไว้ว่า

  • ต้องเลือกแหล่งที่ใกล้กับร้านเรามากที่สุด เพื่อลดต้นทุนในการขนส่ง
  • ต้องเลือกแหล่งที่สามารถเปลี่ยนคืนได้ง่าย หากสินค้าชำรุด เสียหาย ไม่ครบ
  • ต้องเลือกและเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียแต่ละแหล่งดี ๆ เพราะราคาแต่ละจะแตกต่างกัน บางแห่งต้องซื้อยกแพ็ค-ซื้อแยกได้ บางแห่งมีบริการขนส่ง-ไม่มีบริการขนส่ง
  • ห้าม! ลงของจากเซลล์ที่แปลกหน้า ไม่คุ้นเคย เพราะอาจเจอของปลอด สอดใส้
  • ในตอนแรก.. อาจต้องไปซื้อจากร้านส่งมาเอง เมื่อชำนาญ เราจะรู้แหล่งและสนิทกับเซลล์

แล้วร้านขายส่งมีที่ไหนบ้างล่ะ? เราว่าหลายคนอาจจะรู้อยู่บ้างแล้วว่า แม็คโคร เป็นแหล่งค้าส่งอันดับต้น ๆ ที่ใคร ๆ ก็ต้องนึกถึงเมื่อจะเปิดร้านขายของชำหรือเปิดร้านมินิมาร์ท หากใครที่อยู่ใกล้แม็คโคร ก็สามารถแวะไปซื้อที่แม็คโครใกล้บ้านคุณได้เลย แต่นอกจากแม็คโคร มีที่ไหนบ้างนะ? เราจะยกตัวอย่างมาให้ดูค่ะ

ร้านกีรติ ซุปเปอร์สโตร์
ร้านสิน 2000 ซุปเปอร์สโตร์

ร้านสิน 2000

(ทั้งบริษัทกีรติสโตร์, ร้านสิน 2000, ST เชียงราย และเจมาร์ทซุปเปอร์สโตร์ เป็นลูกค้าของ ชั้นวางสินค้า PN ที่เลือกเปิดร้านซุปเปอร์สโตร์กับเครือ PN เครือบริษัทที่ผู้เขียนเองทำงานอยู่ ซึ่งเป็นบริษัทที่เปิดเว็บไซต์ PN Storetailer ขึ้นมานั่นเอง

  • ถ้าทุกคนอยากได้ข้อมูลร้านซูเปอร์สโตร์เพิ่มเติม ทุกคนอาจจะลองเสิร์ชใน Google ว่า “ร้านขายส่งของชำ ใกล้ฉัน” ก็ได้นะ

อีกทางหนึ่งคือในโพสต์ของโชห่วย ชุมชน ในกลุ่มเฟซบุ๊ก ที่เค้าเปิดให้ร้านค้าส่ง มาเม้นท์เสนอขายสินค้า เข้าไปดูได้ที่ FB โชห่วย ชุมชน ร้านค้าส่ง เลยค่า

6. ‘เตรียมสินค้า’ ที่จะนำมาขาย

เมื่อได้แหล่งซัพพลายเออร์ในการซื้อสินค้าแล้ว เรามาดูกันว่า เราควรซื้ออะไรมาขายกันดี ก่อนอื่นอย่างที่ผู้เขียนได้บอกไปในขั้นตอนแรก ๆ ค่ะ ว่าให้คุณสำรวจและเช็กคนซื้อบริเวณนั้นก่อน เพื่อที่จะได้นำสินค้ามาขายให้ตรงกับความต้องการของผู้ซื้อมากที่สุด

ตัวอย่างเช่น ถ้าบริเวณนั้นมีเด็กเยอะ ก็เน้นนำขนมและของเล่นมาลงขาย หรือถ้าบริเวณนั้น คนส่วนใหญ่จะทำอาชีพเกษตรกร ก็นำปุ๋ย ยากำจัดแมลง หรือเมล็ดพันธุ์พืชมาขายเสริม

เตรียมสินค้าที่จะนำมาขาย

ตรงนี้ทุกคนอาจจะต้องไปสอบถาม ทำการบ้านกับผู้บริโภคบริเวณนั้นก่อน เพราะหากคุณมีงบไม่เยอะแล้วลงสินค้าที่ไม่ตอบโจทย์ อาจทำให้สินค้านั้นค้างสต็อกและขายไม่ออก

ทีนี้สินค้าหลัก ๆ ในร้านขายของของชำล่ะ ควรมีอะไรบ้าง เราจะนำมาให้ดูคร่าว ๆ กันค่ะ 

  • สินค้าบริโภค เช่น ขนม น้ำมันพืช ผงชูรส ซุปก้อน น้ำปลา น้ำส้มสายชู ซีอิ๊ว ซอส ไข่ไก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง เกลือ น้ำตาล น้ำจิ้มสุกี้
  • สินค้าอุปโภค เช่น สบู่ แชมพู ครีมนวด ยาสีฟัน ครีมอาบน้ำ ครีมทาผิว แป้ง ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยาล้างจาน ผ้าอนามัย
  • เครื่องดื่ม เช่น น้ำดื่ม นม น้ำหวาน ชาเขียว เครื่องดื่มชูกำลัง กาแฟ เบียร์ สุรา โซดา น้ำอัดลม น้ำผลไม้
  • ของใช้อื่น ๆ เช่น ไฟแช็ค ถ่านไฟฉาย ถ่านก่อไฟ เทียนไข ธูป ยากันยุง ฟองน้ำล้างจาน ยาสามัญประจำบ้าน

แนะนำว่า ควรลงไซซ์เล็กก่อนนะคะ สำหรับการเริ่มต้นเปิดใหม่ เพราะเราต้องทดลองตลาดก่อนว่าสินค้าตัวไหนขายดี สามารถอ่านเต็ม ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ที่ เช็กลิสต์! ‘สินค้าในร้านขายของชำ’ ที่ต้องมีติดร้าน

7. ‘เตรียมแผน’ การบริหารจัดการ

เมื่อทุกอย่างพร้อมหมดแล้ว มาถึงขั้นตอนสุดท้ายกันแล้ว กับแผนการบริหารจัดการและทริคต่าง ๆ เมื่อเปิดร้านขายของชำ แผนการบริหาร เป็นสิ่งที่ควรใส่ใจมาก ๆ เพราะเราจะขายดี จะอยู่รอด และจะขยับขยายต่อเติมไปได้เรื่อย ๆ ไหม ขึ้นอยู่กับแผนนี้ล้วน ๆ ค่ะ ผู้เขียนก็เลยนำทริคเล็ก ๆ น้อย ๆ มาฝากทุกคนให้นำไปต่อยอดกัน

7. เตรียมแผนการบริหารจัดการ

7.1 การตั้งราคาขาย

  • พื้นฐานควรตั้งราคาทุน +20% โดยประมาณ
  • ต่ำกว่าราคาทุน 20% แนะนำเป็นสินค้าที่ขายดี ขายออกไว
  • ขายราคาตามท้องตลาดที่เขาขายกัน พยายามอย่าขายแพงกว่า
  • สินค้าที่มีฉลากราคาติดมา ไม่ต้องบวก 20%
  • เก็บบิลทุกครั้งที่ซื้อของ เพื่อที่จะได้นำมาคำนวณกำไร
  • จดบันทึกลงสมุด ทำบัญชีอยู่เสมอ

7.2 การทำบัญชี

  • บันทึกสินค้าเข้าออก
  • บันทึกยอดขายในแต่ละวัน
  • บันทึกสินค้าที่ขายดีและขายไม่ดี
  • ทำรายรับ-รายจ่ายทุก ๆ วันและสรุปรายเดือนด้วย

ซึ่งขั้นตอนนี้ ถ้ามี ระบบ POS เข้ามาช่วย จะทำให้ลดขั้นตอนบางอย่างออกไปได้มากเลยค่ะ

7.3 การจัดร้านขายของชำ

  • จัดเรียงสินค้าให้อยู่ในระดับสายตา ของเด็กอยู่ข้างล่าง ของผู้ใหญ่อยู่ด้านบน
  • จัดสินค้าขายดีให้โดดเด่น จัดให้อยู่บนชั้นวางสินค้าในจุดที่มองเห็นได้เลย และควรเพิ่มเป็น 2 ชั้น
  • จัดเรียงสินค้าให้สัมพันธ์กัน เช่น สบู่+แชมพูอยู่ใกล้กัน ผงซักฟอก+น้ำยาปรับผ้านุ่มอยู่ใกล้กัน
  • แยกสินค้าอุปโภค-บริโภคออกคนละโซน เพื่อความง่ายในการหาสินค้า
  • การเติมสินค้า ให้นำสินค้าเก่าที่มีอยู่ออกมาให้หมดก่อน แล้วจึงเติมสินค้าใหม่จากด้านหลัง เพื่อไม่ให้สินค้าเก่าค้างสต็อกหรือหมดอายุ
  • กรณีสินค้าหมดสต็อก อย่าเลื่อนสินค้าอื่นมาแทน เพราะจะทำให้ลืมว่าบริเวณนั้นสินค้าขาดหายไป ให้รีบหามาเติมให้ไว้ที่สุด
  • ทำความสะอาดชั้นวางและสินค้าอยู่เสมอ เพื่อให้สินค้าดูน่าซื้อและถูกสุขอนามัย

7.4 ทริคส่งเสริมการขาย

  • ทำนามบัตร เพื่อกระจายข่าวให้คนในชุมชนรู้จักคุณ ในนามบัตรนั้นจะต้องมีชื่อ ข้อมูลการให้บริการ ช่องทางการติดต่อ ช่องทางการโอนเงิน คิวอาร์โค้ดที่ทันสมัย
  • จัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขาย ในการเริ่มเปิดร้าน อาจจะจัดโปรโมชั่นเพื่อกระตุ้นคนให้เข้ามาซื้อที่ร้าน เช่น ซื้อครบ 100 บาท ลุ้นรับของรางวัล, ซื้อ 3 แถม 1 เป็นต้น
  • บริการของทางร้าน ต้องหาจุดเด่นด้านบริการ เพื่อให้ลูกค้าไว้ใจซื้อสินค้าที่ร้านของคุณเป็นประจำ เช่น บริการส่งฟรีไม่มีขั้นต่ำ, บริการเติมเงินให้
  • ทำเพจร้าน เพื่อให้คนมาติดตาม และคุณต้องลงรูป ลงคอนเทนต์ เพื่อให้เรามีความเคลื่อนไหวอยู่ตลอด เวลามีโปรโมชั่น ก็นำมาลงที่เพจ เพื่อกระจายข่าวสาร และยังเป็นการใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์
  • มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี การที่คนขายพูดดี บริการดี มีผลอย่างมากต่อการกลับมาซื้อซ้ำ
  • นำสินค้าที่ไม่เหมือนใครมาขาย อาจจะเป็นสินค้าที่ทำขึ้นมาเอง สินค้า O-Top สินค้าที่หาทานได้ยาก เช่น ทุเรียนทอด, ขนมต่าง ๆ ที่ไม่มีขายตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป

สรุป

ในยุคนี้การเปิดร้านขายของชำ อาจดูไม่ใช่เรื่องง่าย เมื่อต้องแข่งขันสูงไม่ว่าจะกับร้านด้วยกันเองหรือนายทุน แต่เราเชื่อว่าถ้าทุกคนมีแผนที่ดี มุ่งมั่นตั้งใจ หมั่นเสริมสร้างประสบกาณ์และปรับให้ทันยุคทันสมัย จากที่บางคนใช้ร้านขายของชำเป็นรายได้เสริม มันอาจกลายเป็นรายได้หลักและขยับขยายเป็นกิจการใหญ่โตในอนาคตได้ แบบที่นักธุรกิจหลาย ๆ คนประสบความสำเร็จมาแล้ว 😀

ที่สำคัญ การเปิดร้านขายของชำเป็นอาชีพที่อิสระ คุณเป็นนายตัวเอง บริหารจัดการทุกอย่างด้วยตัวเอง มันก็เป็นความสบายใจอย่างหนึ่งในการประกอบอาชีพใช่มั้ยล่ะคะ 

มาสรุปสิ่งที่ผู้เขียนได้ร่ายยาวมาทั้งหมด สำหรับคนที่ไม่อยากอ่านยาว ๆ กันดีกว่า

7 แนวทางเตรียมความพร้อม เปิดร้านขายของชำ

1. เตรียมความพร้อม

เตรียมความพร้อมเรื่องทำเล ต้องอยู่ในพื้นที่ชุมชน ไม่อยู่ใกล้กับร้านสะดวกซื้อที่เป็นของนายทุน และต้องเช็กคู่แข่ง เช็กพื้นที่ว่าพร้อมไหม และเช็กคนซื้อบริเวณนั้นด้วย

2. เตรียมขออนุญาตและจดทะเบียน

เตรียมขออนุญาตขายเหล้าบุหรี่จากกรมสรรพสามิต จดทะเบียนพาณิชย์ เตรียมตัวเสียภาษีเงินได้ให้กรมสรรพากร เตรียมตัวเสียภาษีโรงเรือน ภาษีบำรุงท้องที่ และภาษีป้าย(ถ้ามี)

3. เตรียมเงินทุน

เงินทุนถ้ามีพื้นที่อยู่แล้ว ร้านเล็ก ๆ จะเริ่มต้นที่ 30,000 – 50,000 บาท ร้านขนาดกลาง เริ่มต้น 55,000-90,000 บาท ร้านขนาดใหญ่ เริ่มต้น 95,000-150,000 บาท

แต่ถ้ายังไม่มีพื้นที่ จะต้องเตรียมค่าก่อสร้างด้วย ทำให้งบอาจเริ่มที่ 100,000 – 300,000 บาท

4. เตรียมอุปกรณ์เปิดร้านขายของชํา

อุปกรณ์เปิดร้านขายของชำจะต้องมี  3 อย่างเป็นหลัก นั่นก็คือ ชั้นวางสินค้า, ตู้แช่ และเคาน์เตอร์คิดเงิน ส่วนองค์ประกอบอื่น ๆ อาจจะนำมาเสริมได้ก็อย่างเช่น ตู้แช่เบียร์วุ้น และชั้นวางขวดน้ำมัน

5. เตรียมแหล่งซื้อของ

แหล่งซื้อของจะต้องซื้อตามร้านขายส่งใกล้ชุมชนของคุณ เช่น แม็คโคร หรือลองเสิร์ชใน Google ว่า “ร้านขายส่งของชำ ใกล้ฉัน” หรือคลิกอ่าน รายชื่อร้านค้าส่งค้าปลีกท้องถิ่นทั่วประเทศ จำนวน 87 ราย จากเว็บของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าก็ได้ค่ะ

6. เตรียมสินค้าที่จะนำมาขาย

สิ่งที่ต้องเตรียมมาขายจะต้องทำการสำรวจก่อนว่าผู้บริโภคในชุมชนของคุณส่วนใหญ่มักจะซื้อสินค้าประเภทไหน ส่วนสิ่งที่ต้องเตรียมเป็นหลักก็จะเป็น

  • สินค้าบริโภค ขนม น้ำมันพืช เครื่องปรุงรส ไข่ไก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง
  • สินค้าอุปโภค ผลิตภัณฑ์อาบน้ำ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ผ้าอนามัย
  • เครื่องดื่ม น้ำดื่ม กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ของใช้อื่น ๆ เช่น ไฟแช็ค ถ่านไฟฉาย ธูปเทียน ยากันยุง ยาสามัญประจำบ้าน

7. เตรียมแผนการบริหารจัดการ

การเตรียมแผนการบริหารและการตลาดที่ดี จะทำให้การดำเนินธุรกิจเปิดร้านขายของชำเป็นไปอย่างราบรื่นและเป็นระเบียบ 

7.1 การตั้งราคาขาย ควรตั้งราคาทุน +20% โดยประมาณ ขายราคาตามท้องตลาด และต้องเก็บบิลทุกครั้งที่ซื้อของ เพื่อที่จะได้นำมาคำนวณกำไร

7.2 การทำบัญชี บันทึกสินค้าเข้า-ออก บันทึกยอดขาย และรายรับ-รายจ่ายทุกวัน

7.3 การจัดร้านขายของชำ ต้องจัดสินค้าให้อยู่ระดับสายตาของคนซื้อแต่ละวัย แยกสินค้าอุปโภค-บริโภคออกคนละโซน และควรจัดเรียงสินค้าให้สัมพันธ์กัน

7.4 ทริคส่งเสริมการขาย ควรทำนามบัตรเพื่อให้ข้อมูลร้านของคุณกับคนในชุมชุน ทำเพจร้านลงคอนเทนต์ จัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขาย มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และควรหาบริการหรือสินค้าที่เป็นจุดเด่นของร้านคุณ

ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก

ถึงเวลาเปิดร้านขายของชำของคุณแล้ว!

เมื่อได้ทราบการเตรียมความพร้อมและเทคนิคความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับการเปิดร้านขายของชำทั้งการเช็กทำเล การขอใบอนุญาต การเตรียมเงินทุน แหล่งซื้อของ รวมถึงทริคการบริหารจัดการให้เพิ่มยอดขายแล้ว

การจะเริ่มทำธุรกิจเปิดร้านขายของชำได้ ก็ต้องมีชั้นวางสินค้า รวมถึงอุปกรณ์เปิดร้านที่สวยงามทันสมัยและครบครัน เราขอแนะนำ บิ๊กเบสอุปกรณ์มาร์ท ที่มีทั้งชั้นวางสินค้า เคาน์เตอร์คิดเงิน ตู้แช่ รวมถึงอุปกรณ์สำหรับเปิดร้านค้าให้เลือกสรรมากมาย และยังมีหน้าร้านหลายสาขา มาพร้อมบริการขนส่งติดตั้ง หากสนใจสามารถคลิกปุ่มด้านล่างเพื่อสอบถามรายละเอียดกับแอดมินได้เลย! 😀

บทความอื่น ๆ ที่แนะนำ

ใส่ความเห็น