เช็คลิสต์ 8 ข้อ การเลือกทำเลเปิดร้านค้าที่ดี ทำยังไงได้บ้าง?

เช็คลิสต์ 8 ข้อ การเลือกทำเลเปิดร้านค้าที่ดี

“การเลือกทำเลดี มีชัยไปกว่าครึ่ง”

ก่อนเริ่มต้นธุรกิจร้านค้าปลีกประเภทใดก็ตาม ทำเลเปิดร้าน เป็นสิ่งแรก ๆ ที่ควรคิดก่อนสิ่งอื่นใด

เพราะทำเลหรือสถานที่สำหรับตั้งร้านค้านั้น มีผลต่อลูกค้าที่จะเดินเข้ามาในร้านมาก ๆ และมันยังส่งผลต่อศักยภาพในการสร้างรายได้ในอนาคตของร้านอีกด้วย

บทความนี้ PN Storetailer จะพาทุกคนไปเช็คลิสต์การเลือกทำเลร้านค้าปลีกที่คุณกำลังจะเปิด ว่าควรพิจารณาอย่างถี่ถ้วนในเรื่องใดบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ

ก่อนที่เราจะไปเลือกทำเลเปิดร้านของคุณ ผู้เขียนมีคำถามบางข้อ ที่อยากให้ทุกคนลองตอบดู เพื่อจะได้เห็นภาพว่าธุรกิจของคุณจะเป็นอย่างไรในอนาคต

  • ลองคิดว่าลูกค้าหลักของคุณเป็นใครบ้าง?
  • นึกภาพของร้านคร่าว ๆ ของคุณไว้ว่าเป็นยังไง?
  • ประเภทสินค้าในร้านเป็นแบบไหน?
  • กำหนดพื้นที่ร้านค้าคร่าว ๆ ไว้ขนาดเท่าไหร่?

คำถามเหล่านี้จะช่วยให้การหาทำเลชัดเจนมากยิ่งขึ้น ถ้าคุณสามารถตอบคำถามทุกข้อที่เรากำหนดไว้ได้แล้ว ลองมาดูเนื้อหาในบทความของเรากันเลย ว่าต้องพิจารณาเรื่องใดในการเลือกทำเลบ้าง

INFO เช็คลิสต์ 8 ข้อ การเลือกทำเลเปิดร้านค้าที่ดี ทำยังไงได้บ้าง?

เช็คลิสต์ 8 ข้อ การเลือกทำเลเปิดร้านค้าที่ดี 

1. อยู่ในที่ ๆ ผู้คนสัญจรไปมา

การจะเปิดร้านค้า ถ้าคุณไปเปิดในที่ ๆ ไม่มีผู้คนผ่านไปมาเลย มันก็ยากที่จะขายออก หรือไม่ก็ต้องเปิดบนถนนที่มีรถสัญจรไปมา เพราะจะทำให้ผู้คนมองเห็นได้ง่าย ดังนั้นสิ่งที่ควรคำนึงเลยคือ

  • มีคนเดินผ่านและรถผ่านไปเยอะหรือไม่?
  • ขนส่งสาธารณะเข้าถึงได้ดีแค่ไหน?
  • มีที่จอดรถเพียงพอสำหรับลูกค้าและรถบรรทุกขนของ
  • ลูกค้าและรถบรรทุกขนของสามารถเข้า-ออกจากที่จอดรถได้ง่าย

อยากให้คุณลองมองในมุมของลูกค้าเยอะ ๆ เพื่อที่จะได้เข้าถึงความรู้สึกพวกเขาว่า “ร้านของคุณน่าเข้าไปซื้อไหม” เมื่อคุณเข้าใจลูกค้า คุณจะรู้ว่าคุณควรเปิดร้านในทำเลนั้น ๆ หรือไม่

เบสิคแล้วถ้าทำเลร้านค้าอยู่ในที่ ๆ ผู้คนมองเห็นได้ง่าย มันจะดีกับร้านคุณมากเลย แต่ถ้าไม่ได้อยู่ในที่แบบนั้นคุณก็ต้องทำการตลาดเพื่อโปรโมทหน่อยนะคะ

2. สำรวจว่าประชากรบริเวณนั้นเป็นแบบไหน

ก่อนจะเลือกทำเลร้านค้า เราต้องสำรวจคนในชุมชนนั้น ๆ ก่อน ว่าพวกเขาเป็นกลุ่มคนที่ “ตรงกลุ่มเป้าหมาย” กับสินค้าของเราไหม

ขอแนะนำแบบเป็นข้อ ๆ นะคะ

  • ทำความรู้จักเพื่อสอบถามกับคนในท้องถิ่น ในกรณีที่คุณไม่เคยอยู่แถวนั้น การทำความรู้จักอย่างเป็นมิตร และสอบถามพวกเขาว่ามีความชอบแบบไหน เป็นทางเลือกสุดเบสิคในการเลือกทำเลเปิดร้าน แต่ถ้าเป็นพื้นที่ที่คุณคุ้นเคยอยู่แล้ว ข้อนี้ก็ผ่านค่ะ
  • พูดคุยกับร้านค้าอื่น ๆ ที่ตั้งอยู่บริเวณนั้น อาจเริ่มจากการไปซื้อของพวกเขาก่อน และถามอย่างเป็นมิตรว่า ขายดีไหม? ลูกค้าส่วนใหญ่ชอบอะไร? พฤติกรรมของผู้คนบริเวณนี้เป็นยังไง? หากได้คำตอบคร่าว ๆ เราจะสโคปได้ว่าควรมาตั้งร้านค้า
  • คุณอาจต้องสำรวจประชากรจากบริเวณนั้นเพิ่มเติมจากเว็บไซต์สำนักงานสถิติแห่งชาติ www.nso.go.th ที่คุณสามารถดูได้ทั้งข้อมูลพื้นฐานครัวเรือน, สภาวะการทำงานของประชากร, สภาวะเศรษฐกิจและสังคมครัวเรือน และอื่น ๆ เมื่อคุณรู้ถึงข้อมูลของคนกลุ่มนั้น ๆ แล้ว คุณก็จะได้นำมาพิจารณาว่าควรจะเปิดร้านค้าปลีกของคุณที่นั่น หรือควรมองหาที่อื่นสำรองไว้

3. ประเภทสินค้าเป็นตัวแปรในการเลือกทำเล

การจะเลือกทำเลดี ๆ ในการลงหลักปักฐานทำธุรกิจ ตัวแปรที่สำคัญมากของการเลือกคือ “ประเภทสินค้าในร้าน”

ต้องดูว่าสินค้าที่จะนำมาขายเป็นประเภทไหน อย่างที่เราตั้งคำถามไว้ในตอนต้น เพราะการจะเลือกทำเลเปิดร้านสักแห่ง เราต้องเลือกบริเวณที่เหมาะกับสินค้าของเรา

  • สินค้าทั่วไป

สินค้าทั่วไปเป็นสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน สินค้าอุปโภค-บริโภค ในร้านขายของชำ ร้านมินิมาร์ท ร้านขายของเบ็ดเตล็ด ควรเปิดในพื้นที่ที่มีคนพลุกพล่าน เช่น ใกล้ตลาด ใกล้โรงเรียน ใกล้มหาวิทยาลัย

ตัวอย่างเช่น การเปิดร้านขายของเบ็ดเตล็ด ช่น พวกของใช้ในบ้าน ของใช้จิปาถะ สินค้าประเภทนี้เป็นของที่ซื้อง่ายขายคล่องและราคาถูก จับต้องได้ จึงเหมาะกับคนทั่ว ๆ ไป ร้านแบบนี้จึงไม่ควรไปเปิดในที่ ๆ ผู้คนเข้าถึงยาก

  • สินค้าแบบ Specialty Store

เป็นสินค้ามีเอกลักษณ์ในแบบของตัวเอง สินค้าประเภทนี้จะตอบสนองความต้องการของคนเฉพาะกลุ่มที่ไม่ใช่คนทั่ว ๆ ไป หากทำเลไม่ได้อยู่ใกล้ ๆ กับย่านผู้คน เช่น ตลาดหรือโรงเรียน ก็อาจจะไม่ส่งผลมากเท่าไหร่หากคุณปักหมุดใน Google my Business และอัปเดตข้อมูลอยู่เป็นประจำ

ทีนี้ถ้าใครต้องการที่จะซื้อสินค้าในร้านค้าประเภทนี้จริง ๆ สมมติว่าต้องการซื้ออุปกรณ์สัตว์เลี้ยง ถ้าเสิร์ช  Google ว่า “ร้าน Pet Shop ใกล้ฉัน” แล้วเจอชื่อร้านของคุณ+รีวิวดี ๆ มีข้อมูลอัปเดตตลอด พวกเขาจะไม่ mind ที่จะเดินทางไปหน้าร้านของคุณเลยค่ะ

ยกตัวอย่างการเลือกทำเปิดร้านค้าแบบ Specialty Store อีกแบบหนึ่ง เช่น ของเก่าหายาก, ของสะสม, ภาพวาด, ร้านต้นไม้, สินค้าสำหรับคนแต่งคอสเพลย์

ถ้าคุณจะขายของประเภทนี้ แต่ไปเปิดในทำเลทั่ว ๆ ไป มันน่าจะขายยากหน่อย เพราะคุณไม่มีทางรู้เลยว่าใครเป็นกลุ่มเป้าหมายของคุณ

“เหมือนคุณกำลังตกปลาในบ่อกว้างๆ ซึ่งมันจะมีโอกาสที่คุณจะเจอปลาที่ชอบหรือไม่ชอบก็ได้..”

ฉะนั้นถ้าเป็นร้านแบบนี้ คุณควรเปิดในบริเวณที่มันเอื้อประโยชน์ต่อกัน อย่างร้านที่มีสินค้าคล้าย ๆ กัน เพื่อลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเดียวกันจะได้เดินทางมาเลือกซื้อนั่นเองค่า 😊

อ่านเพิ่มเติม :

4. ตรวจสอบนโยบายสถานที่ให้ดี

ก่อนเซ็นต์สัญญาเช่าพื้นที่ คุณควรเข้าใจ “กฎ นโยบายและขั้นตอนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับทำเลที่ตั้งร้านค้าของคุณด้วย” เพื่อลดความผิดพลาดให้ได้มากที่สุด เพราะอาจมีการจำกัดขนาดป้ายที่ใช้ในสถานที่นั้น ๆ หรือมีข้อจำกัดอื่น ๆ ที่คุณไม่สามารถทำได้

ซึ่งมันอาจส่งผลกระทบกับร้านค้าของคุณ รวมถึงการวางแผนในอนาคตที่ไม่แน่ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง

เช่น จะมีการก่อสร้างทางหลวงในบริเวณนั้น เพราะถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น จะส่งผลต่อร้านค้า รายได้ และการดำเนินธุรกิจของคุณ ที่จะต้องยุ่งยากในอนาคต ฉะนั้นควรตรวจสอบเรื่องนี้ให้ละเอียดด้วยน้าา

5. สำรวจร้านค้าเพื่อนบ้านและคู่แข่ง

เรื่องนี้สำคัญมากเลยนะ ถ้าคุณเลือกทำเลดีมาก มีผู้คนสัญจรไปมา คนในพื้นที่ก็ตรงกลุ่มเป้าหมายกับสินค้า แต่ร้านข้าง ๆ เป็นร้านที่เหมือนกันทุกอย่าง ทั้งการตกแต่งร้าน สินค้าที่นำมาขาย รวมถึงสไตล์ต่าง ๆ

ถ้ามีคู่แข่งแบบนี้คุณก็ควรคิดได้แล้วว่าไม่เลือกทำเลแถวนี้จะดีกว่า เพราะมันจะเป็นการเปิดร้านเพื่อแย่งลูกค้ากัน

ซึ่งจะส่งผลให้มีปัญหาตามมาในวันข้างหน้าได้ (อันนี้เป็นกรณีที่คุณขายสินค้าทั่วไป ไม่ใช่สินค้าประเภทที่ต้องไปเปิดใกล้เคียงกันนะ) แต่หากเป็นร้านค้าเพื่อนบ้านของคุณทำธุรกิจอะไรที่ไม่ทับไลน์กัน แต่มันสอดคล้องกับสินค้าที่คุณนำมาขาย มันจะเป็นการเอื้อผลประโยชน์ต่อกันเหมือนธุรกิจพันธมิตรได้

เช่น หากคุณกำลังจะเปิดร้านเครื่องสำอาง หรือบิ้วตี้ช็อป คุณควรเลือกทำเลที่มีร้านทำผม ร้านทำเล็บ อยู่เยื้อง ๆ กัน เพื่อเวลาที่ร้านนั้น ๆ ต้องการน้ำยาย้อมผม น้ำยาทาเล็บ และเครื่องสำอางอื่น ๆ เขาจะได้มาซื้อที่ร้านของคุณได้ยังไงล่ะ

6. เช็คลิสต์ค่าใช้จ่ายในการเปิดร้าน

การเปิดร้านค้าไม่ได้มีแค่ค่าเช่าที่อย่างเดียวค่ะ เพราะนอกเหนือจากค่าเช่าที่เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีกมากมาย ที่เกี่ยวกับกับสถานที่ที่คุณจะใช้เป็นทำเลเปิดร้านค้า

ลองคิดเป็นค่าใช้จ่ายคร่าว ๆ ที่เกิดขึ้นก็จะมี

  • ค่าปรับปรุงตกแต่งร้าน ทั้งทาสี ติดแอร์ เฟอร์นิเจอร์ และค่าลง ชั้นวางสินค้า
  • ค่าคนทำความสะอาดพื้นที่หรือแม่บ้าน
  • ค่าภาษีร้านค้า ภาษีป้าย ค่าบำรุงรักษาสถานที่ หรือค่าส่วนกลางต่าง ๆ 
  • ค่าประกัน ค่ามัดจำ
  • ค่าดำเนินการ

(อ้างอิงจาก www.cbre.co.th )

ซึ่งค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เหล่านี้จะแตกต่างกันไปตามร้านค้าที่คุณเปิด มันค่อนข้างเป็นเรื่องยากที่จะประเมินราคาสำหรับธุรกิจเปิดใหม่ คุณอาจจะต้องสอบถามคนที่เขาเปิดร้านที่ใกล้เคียงกับคุณว่า “โดยรวมแล้วมีค่าใช้จ่ายประมาณไหน” ก็ได้ค่ะ

7. พิจารณาปัจจัยส่วนบุคคลของคุณ 

หากคุณวางแผนว่าจะต้องไปที่ร้านค้าบ่อย ๆ ให้คุณคำนึงถึงความสมดุลของการใช้ชีวิตด้วยนะ เนื่องจากระยะเวลาในการเดินทางเร็ว-ช้าไปที่ร้านก็สำคัญ

การใช้เวลานานเกินไปในการเดินทางไปที่ร้าน นอกจากจะทำให้คุณเหนื่อยจากการเดินทางแล้ว ยังส่งผลต่อภาพลักษณ์ของคุณที่มีต่อพนักงานด้วย เพราะถ้าคุณไปสายบ่อย ๆ สิ่งนี้จะเป็นตัวอย่างที่ไม่ค่อยดีให้กับลูกจ้างเท่าไหร่ แถมยังทำให้คุณอาจพลาดในการเสนอแนะความคิดเห็นเรื่องการทำงานของพนักงานได้อย่างเต็มที่

เช่น ในช่วง 9 โมง มีลูกค้าที่มีปัญหากับการให้บริการของพนักงาน ต้องการคุยกับเจ้าของร้านด่วน แต่คุณยังเดินทางไปไม่ถึงที่ร้าน

หากมีเคสแบบนี้เกิดขึ้นและลูกจ้างไม่สามารถแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองได้ ผลเสียก็จะตกอยู่ที่ร้านของคุณและตัวคุณเอง เราเตือนไว้ก่อน.. จะได้ไม่พลาดกันน้า

8. เช็คปัจจัยอื่น ๆ เพิ่มเติม

นอกจาก 7 ข้อที่เราได้กล่าวมาทั้งหมดแล้ว ร้านค้าของคุณอาจต้องไตร่ตรองบางอย่างเพิ่มเติมหลังจากเลือกสถานที่ไปแล้วนะคะ

เราจะลองยกตัวอย่างให้ดูว่ามันจะมีอะไรอีกบ้างให้คุณพิจารณาหรือปรับปรุงแก้ไข

  • ร้านค้าของคุณต้องก่อสร้าง-ต่อเติมร้านใหม่ หรือเปลี่ยนหลอดไฟ เพิ่มโคมไฟต่าง ๆ ให้เข้ากับบรรยากาศมากขึ้นไหม?
  • มีห้องน้ำสำหรับพนักงานและลูกค้าหรือยัง?
  • มีสถานีดับเพลิงในชุมชนหรือเปล่า?
  • มีบริการสุขาภิบาลอยู่ในชุมชนนั้น ๆ ไหม? 
  • มีสถานีตำรวจใกล้เคียงบริเวณนั้นหรือไม่?

การนึกถึงสภาพแวดล้อมรอบ ๆ และปัจจัยอื่น ๆ เพิ่มเติม จะช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่า ทุกอย่างครบครัน และพร้อมที่สำหรับการเลือกทำเลนั้น ๆ ในการเปิดร้านของคุณ เพราะหากมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น จะได้รับมืออย่างทันท่วงที

✔ สรุป

ลองเช็คลิสต์และพิจารณาสิ่งเหล่านี้ที่เรานำมาเสนอให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจเลือกทำเลเปิดร้านค้าปลีก และควรใช้เวลามากหน่อยในการหาข้อมูลของพื้นที่นั้น ๆ เมื่อสรุปทุกข้อที่กล่าวมา จะมีดังนี้

1. อยู่ในที่ ๆ ผู้คนสัญจรไปมา – การเลือกทำเลดี ๆ สุดเบสิค คือการเลือกย่านชุมชุน มีผู้คนผ่านไปมา
2. สำรวจประชากรบริเวณนั้น – เลือกบริเวณที่มีกลุ่มคนตรงกับกลุ่มเป้าหมาย
3. ประเภทสินค้าเป็นตัวแปร – สินค้าทั่วไปควรอยู่ในย่านชุมชน, สินค้า Specialty Store ควรอยู่ในที่ที่มีความใกล้เคียงกัน หรือถ้าทำเลไม่ใกล้ชุมชน ควรปักหมุดใน Google my business และอัปเดตบ่อย ๆ
4. ตรวจสอบนโยบายสถานที่ – เช่น จำกัดขนาดป้ายไหม, จะมีการก่อสร้างถนนในบริเวณนั้นหรือเปล่า
5. สำรวจร้านค้าเพื่อนบ้านและคู่แข่ง – ถ้ามีสไตล์ร้านซ้ำกันควรเลี่ยง หรือเพื่อบ้านควรขายสินค้าสอดคล้องกับเรา
6. เช็คลิสต์ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม – เช่น ค่าปรับปรุงร้าน ค่าบำรุง ค่าส่วนกลาง
7. พิจารณาปัจจัยส่วนบุคคล – การเดินทางของคุณไปถึงร้านค้า ไม่ควรใช้ระยะเวลานานเกินไป
8. เช็คปัจจัยอื่น ๆ เพิ่มเติม – มีห้องน้ำเพียงพอไหม มีสถานีดับเพลิงในชุมชนและสถานีตำรวจใกล้ ๆ กันรึเปล่า และอื่น ๆ

“อย่าพึ่งรีบตัดสินใจ” ในการวางร้านค้าของคุณไว้ที่ใดที่หนึ่ง

ลองเลือกดูหลาย ๆ ที่มาเปรียบเทียบประกอบกัน เพื่อที่จะได้ทำเลดีที่สุดสำหรับร้านค้าของคุณค่ะ และถ้าได้ทำเลดีที่เหมาะสมและตรงกับใจแล้ว PN Storetailer ก็ขอให้ธุรกิจของคุณดำเนินไปอย่างราบรื่นนะคะ ✌

แนะนำสิ่งดี ๆ ♦

หากได้ทำเลแล้ว ถ้ายังไม่รู้ว่าจะซื้อชั้นวางสินค้าที่ไหน ต้องออกแบบจัดร้านยังไง.. ไม่ว่าคุณจะเริ่มต้นธุรกิจเปิดร้านขายของชำ ร้านมินิมาร์ท ร้านขายส่ง ร้านวัสดุก่อสร้าง ร้านอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ร้านขายอุปกรณ์การเกษตร และอื่น ๆ และกำลังอยากเปิดร้านโดยใช้ชั้นวางสินค้าและเคาน์เตอร์ที่มีสีที่คุณต้องการ สามารถเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์และติดต่อมาปรึกษาแอดมินของ เครือบริษัท PN ได้ที่ปุ่มสีน้ำเงินด้านล่าง

PN รับออกแบบแปลนและผลิตชั้นวางสินค้าในสีสันที่หลากหลายตามที่ลูกค้าต้องการ เรามีเซลล์และดีลเลอร์ทั่วประเทศที่สามารถตอบโจทย์การเปิดร้านของคุณได้

ส่วนใครที่อยากสั่งทำเฉพาะเคาน์เตอร์ ทั้งเคาน์เตอร์ร้านค้า เคาน์เตอร์คิดเงิน เคาน์เตอร์แคชเชียร์ หรือเคาน์เตอร์ต้อนรับ แบบสั่งผลิตตามเฉดสีที่ต้องการ สามารถเข้าไปชมเว็บไซต์ของเราและติดต่อได้ที่ TOOB Counter ที่ปุ่มสีเขียวได้เลยค่ะ 😀

ใส่ความเห็น