ทุกวันนี้คุณน่าจะเห็นธุรกิจ แฟรนไชส์ กระจายอยู่ในทุกพื้นที่ของประเทศเลยก็ว่าได้
เพราะแฟรนไชส์ ไม่ได้จำกัดอยู่แค่วงการธุรกิจประเภทเดียว เพราะมันสามารถเปิดร้านหรือกิจการได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งธุรกิจร้านอาหาร, ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ, ธุรกิจเครื่องดื่ม และอื่น ๆ อีกมากมาย
หากคุณกำลังมีความสนใจในธุรกิจแฟรนไชส์ แต่ยังไม่ค่อยเข้าใจกับมันเท่าไหร่นัก บทความนี้เราจะมาอธิบายให้คุณเข้าใจมากขึ้นค่ะ
1. แฟรนไชส์ คืออะไร?
แฟรนไชส์ คือ การโคลนนิ่งธุรกิจหรือร้านค้า หรือเป็นวิธีการขยายร้านค้า ขยายตลาดเพื่อให้ธุรกิจเติบโตกว่าเดิม โดยเจ้าของธุรกิจต้นฉบับหรือ ผู้ถือครองสิทธิ์ (franchisor) จะขายธุรกิจนี้ในรูปแบบของแฟรนไชส์ต่อให้ ผู้รับสิทธิ์ (franchisee) นำไปเปิดร้านแบบเดียวกัน
ซึ่ง franchisor หรือเจ้าของธุรกิจ ตราสินค้า หรือแบรนด์นั้น ๆ ที่เป็นผู้ถือสิทธิ์ของแฟรนไชส์ จะต้องนำองค์ความรู้ทั้งหมด และเคล็ดลับต่าง ๆ เกี่ยวกับธุรกิจนั้นไปถ่ายทอด เพื่อให้รูปแบบของร้านค้าในทุก ๆ สาขาที่ซื้อแฟรนไชส์ต่อได้ทำตามแบบเดียวกัน
ตัวอย่างแบบง่ายที่สุด ที่ทุกคนจะต้องรู้จักนั่นก็คือ 7-Eleven เลยค่ะ จะเห็นได้ว่า 7-11 มีหลายสาขาทั่วประเทศ นั่นเป็นเพราะการทำแฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จ จึงทำให้ขยายสาขาไปอย่างกว้างขวาง
2. รูปแบบธุรกิจของแฟรนไชส์เป็นยังไง?
รูปแบบธุรกิจของแฟรนไชส์ มีลักษณะคือ เจ้าของสิทธิ์ อนุญาตให้ผู้รับสิทธิ์ สามารถดำเนินธุรกิจตามแบบของตนได้ ผู้รับสิทธิ์นั้น ก็แค่ต้องจ่ายเงินซื้อแฟรนไชส์มา ไม่ต้องเริ่มทั้งหมดด้วยตัวเอง เพราะจะมีเจ้าของสิทธิ์มาสอนทุกอย่าง และทุกกระบวนการ รวมไปถึงสูตรลับที่ร้านนั้น ๆ ใช้ดำเนินธุรกิจด้วย
แต่การส่งต่อนั้น ไม่มีคำว่าฟรีแน่นอน เพราะมันมีค่าธรรมเนียมตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจไปจนถึงสัญญาซื้อที่ต้องจ่ายแบบต่อเนื่อง ในการซื้อแฟรนไชส์ของธุรกิจนั้น ๆ มาเปิดเป็นของตัวเอง
อ่านเพิ่มเติม :
3. ระบบของแฟรนไชส์
ค่าใช้จ่ายในการซื้อแฟรนไชส์ มักจะขึ้นอยู่กับผลประกอบการของผู้ถือสิทธิ์ ถ้าร้านไม่ดังมากเท่าไหร่ ค่าธรรมเนียมต่อเนื่องอาจต่ำถึง 4% หรือ 5%
ถ้าร้านดังและได้รับความนิยมมาก ค่าธรรมเนียมอาจสูงถึง 20% เลยทีเดียวค่ะ แต่บางทีค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ ก็มักจะขึ้นอยู่กับระดับการสนับสนุนของผู้รับสิทธิ์ด้วยนะ

ตัวอย่างเช่น ผู้รับสิทธิ์อาจช่วยในการออกใบแจ้งหนี้ หรือนำลูกค้าใหม่ ๆ มาซื้อแฟรนไชส์ต่อ ซึ่งก็อาจทำให้ได้รับส่วนลดในค่าธรรมเนียมการซื้อต่อมากขึ้น
ทีนี้ คุณก็ต้องลองถามตัวเองว่า คุณต้องการซื้อแฟรนไชส์ต่อจากคนอื่น หรือคุณต้องการสร้างแฟรนไชส์ธุรกิจของคุณมากกว่า?
4. ข้อควรพิจารณาสำหรับผู้รับสิทธิ์ หรือ franchisee
ลองค้นหาสิ่งที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณมากที่สุด ประกอบกับการประสบความสำเร็จของแฟรนไชส์นั้น ๆ ที่คุณสนใจ รวมถึงการทำตามสัญญาที่ให้ไว้กับราคาที่เหมาะสม
ถ้าคุณไม่รู้ ก็สามารถถามจากคนที่มีประสบการณ์ในการทำแฟรนไชส์นั้นจริง ๆ รับรองว่าเขาจะให้ข้อมูลที่ดีกับคุณแน่นอน
ในขณะที่คุณกำลังหาข้อมูลอย่างละเอียดเกี่ยวกับแฟรนไชส์ คุณก็ต้องพิจารณาตัวคุณเองด้วยนะคะ ว่าคุณมีคุณสมบัติพร้อมหรือไม่ เช่น
- คุณเหมาะกับแฟรนไชส์นั้นจริง ๆ รึเปล่า?
- คุณพยายามที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลาหรือไม่?
- คุณสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดในการดำเนินธุรกิจนั้น ๆ หรือไม่?
- หากคุณกำลังทำงานประจำอยู่ สภาพร่างกายและจิตใจของคุณพร้อมที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงหรือไม่?
- คุณเตรียมรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ที่จะเข้ามาหรือยัง
ทุกสิ่งไม่มีอะไรที่ราบรื่นเสมอไป ไม่ว่าจะทำงานหรือกิจการอะไร ก็ย่อมมีอุปสรรคที่เข้ามาเสมอ
อยู่ที่ว่าคุณจะพร้อมรับมือกับมันรึเปล่า ถ้าคุณพร้อมจะลุย ก็ไม่มีอะไรมาขวางคุณได้ จัดไปให้เต็ม Max เลยค่ะ!
5. ข้อควรพิจารณาสำหรับผู้ถือสิทธิ์ หรือ franchisor
หากคุณกำลังพิจารณาที่จะดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ด้วยตัวเอง ให้ตรวจสอบให้แน่ใจว่า คุณเหมาะสมกับระบบแฟรนไชส์แล้วหรือยัง
- ธุรกิจของคุณสามารถทำร่วมกับคนอื่นได้ดีหรือไม่?
- ถ้าคุณเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ คุณสามารถรับสมัครฝึกอบรมและสนับสนุนคนที่ผู้รับสิทธิ์แฟรนไชส์ของคุณได้หรือไม่?
- ธุรกิจของคุณสามารถสร้างกำไรเพียงพอ สำหรับแฟรนไชส์ของคุณ และสาขาทั้งหมดหรือไม่?
- ก่อนที่คุณจะขายสิทธิ์ในการใช้ชื่อร้านค้าของคุณให้กับผู้อื่น คุณต้องแน่ใจว่าคนที่ซื้อสิทธิ์ไป จะรักษาคุณค่าของแบรนด์และบริการที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างคุณภาพที่ดีให้ธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณ
หากคุณพิจารณาสิ่งเหล่านี้อย่างถี่ถ้วนแล้ว และคุณมีพร้อมทุกอย่างแบบไม่ขาดตกบกพร่องแล้ว คุณก็พร้อมที่จะเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ได้ค่ะ 🙂
6. สัญญาและค่าธรรมเนียมของแฟรนไชส์
-
ส่วนของสัญญา
หากการพิจารณาและการตรวจสอบเป็นไปได้ดีทั้งสองฝ่าย ทั้งเจ้าของสิทธิ์และผู้รับสิทธิ์จะลงนามทำสัญญากันตามข้อตกลง
ซึ่งการซื้อแฟรนไชส์ อาจมีเรื่องของความซับซ้อนทางกฎหมาย เข้ามาเกี่ยวข้องในข้อตกลงด้วยนะคะ ดังนั้นทั้งสองฝ่ายจึงควรปรึกษาผู้ที่มีความรู้ในด้านนี้โดยเฉพาะ ก่อนที่จะตกลงทำสัญญา

-
ส่วนของค่าธรรมเนียม
ผู้ซื้อแฟรนไชส์ จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมดังนี้
1. ค่าธรรมเนียมเริ่มต้น เพื่อซื้อแฟรนไชส์ (ที่ปกติจะเป็นเงินก้อน) ให้กับผู้ถือสิทธิ์ในการที่จะดำเนินธุรกิจต่อไป
2.ค่าธรรมเนียมการจัดการ หรือเงินรายงวด เป็นสิ่งที่ต้องจ่ายอย่างต่อเนื่อง
โดยการจ่ายเงินครั้งนี้ มักจะเป็นรอบรายเดือน, 2 เดือน, หรือไตรมาส เงินส่วนนี้ เหมือนเป็นการจ่ายเพื่อให้เจ้าของสิทธิ์นำไปพัฒนาสินค้าและบริการให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
ไม่ว่าจะเป็น
- การโปรโมทโฆษณาแบรนด์หรือร้านค้า
- สนับสนุนการขายหรือ จัดโปรโมชั่น
- ซื้อวัสดุหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เข้ามา
หรืออาจจะเรียกได้ว่า ค่าธรรมเนียมส่วนนี้คล้าย ๆ กับการที่เราจ่ายภาษีให้รัฐบาลนำไปพัฒนาประเทศนั่นเอง 😀
ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับคุณแล้วว่า จะเลือกรัฐบาลที่ใช่ รัฐบาลที่บริหารเก่งหรือไม่..
ถ้าคุณเลือกพลาดไปเจอรัฐบาล (ธุรกิจแฟรนไชส์) ที่บริหารไม่เป็น รับรองว่า ประเทศ (ธุรกิจของคุณ) มีโอกาสเจ๊งสูงค่ะ
7. ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
การทำธุรกิจแฟรนไชส์ ไม่ใช่ธุรกิจที่ทำด้วยตัวคุณเองคนเดียวแล้วจะประสบความสำเร็จ
เพราะมันต้องมีการทำงานร่วมกันระหว่าง แฟรนไชส์ซอกับแฟรนไชส์ซี (เจ้าของผู้ถือสิทธิ์กับผู้รับสิทธิ์) รวมถึงสาขาอื่น ๆ ในเครือข่ายของแฟรนไชส์ด้วย
รูปแบบธุรกิจนี้ ต้องการความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่องระหว่างทั้งสองฝ่าย และมันมักจะใช้เวลานานหลายปี
ถ้าทั้งสองฝ่ายทำงานร่วมกันอย่างไม่มีความขัดแย้ง ทำตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ และมีความซื่อสัตย์ต่อกัน รับรองว่าธุรกิจแฟรนไชส์ก็จะประสบความสำเร็จอย่างแน่นอนค่ะ ^6^
อ่านเพิ่มเติม :
✔ สรุป
อ่านมาถึงตรงนี้ คุณก็คงรู้จักกับแฟรนไชส์มากขึ้นแล้ว
ธุรกิจแฟรนไชส์ จะต้องเรื่มจากความสำเร็จของธุรกิจหนึ่งก่อน จึงจะสามารถขยายธุรกิจต่อไปได้ ซึ่งหากคุณอยากเป็นเจ้าของแฟรนไชส์เอง คุณจะต้องมีความมุมานะที่จะสร้างอัตลักษณ์ให้ร้านค้าของคุณให้น่าดึงดูดก่อน
ซึ่งการเริ่มต้น แน่นอนว่ามันยาก แต่เมื่อคุณสามารถบรรลุเป้าหมายได้ คุณจะกลายเป็นคนที่ยิ่งใหญ่ได้ทันที
ขณะเดียวกันถ้าคุณต้องการจะซื้อแฟรนไชส์ต่อจากคนอื่น คุณจะต้องยอมลงทุนกับความเสี่ยงด้วย
เพราะการที่เจ้าของประสบความสำเร็จ ไม่ได้แปลว่าคุณจะประสบความสำเร็จไปด้วย เพราะมันมีปัจจัยหลายอย่าง เมื่อรู้จักกับมันมากขึ้น คุณอยากจะลองดำเนินธุรกิจนี้ดูไหมคะ ถ้าอยากลองก็เริ่มเลยค่ะ!!
ติดตามอ่านบทความอื่น ๆ ของ Pn storetailer ด้วยนะคะ
ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก :
- What is a Franchise? by smallbiztrends