รวมสุดยอดโมเดลธุรกิจ..เสกร้านค้าปลีกให้ขายดีขึ้น

โมเดลธุรกิจ

“โมเดลธุรกิจที่ดี จะช่วยให้ธุรกิจของคุณสร้างกำไรได้อย่างมหาศาล”

อาจจะดูเว่อร์ไปหน่อย แต่มันเกิดขึ้นจริงมาแล้วกับธุรกิจอื่น ๆ ที่เขาประสบความสำเร็จ 

สงสัยกันใช่มั้ยล่ะคะว่า “โมเดลธุรกิจ” คืออะไร?

บทความนี้เราจะมาขยายความของคำว่า โมเดล/รูปแบบธุรกิจ หรือ Business Model รวมถึงยกตัวอย่างของมันในด้านต่าง ๆ

ว่าหลัก ๆ แล้วเขามีรูปแบบอย่างไร มีวิธีการดำเนินธุรกิจแบบไหนเพื่อสร้างรายได้ให้กิจการของตัวเอง คุณจะได้นำไปปรับใช้กับธุรกิจร้านค้าปลีกของคุณให้ประสบความสำเร็จได้มากขึ้นค่ะ

รู้จักกับโมเดลธุรกิจกันหน่อย

โมเดลธุรกิจ (Business Model) หรือจะเรียกอีกแบบหนึ่งได้ว่า รูปแบบธุรกิจก็ได้ ซึ่งมันคือ แบบจำลองธุรกิจที่สร้างขึ้นมาให้เห็นภาพของธุรกิจแบบครบวงจร ช่วยให้การดำเนินงานมีทิศทางที่ชัดเจน เพื่อให้คนในทีมของคุณรู้และเห็นภาพตรงกันว่า

  • ธุรกิจของคุณจะให้ขายหรือบริการอะไร?
  • กลุ่มเป้าหมายคือใคร?
  • รวมถึงมีกำไรจากการให้บริการและสินค้าตัวไหนบ้าง?

ดังนั้น โมเดลหรือรูปแบบธุรกิจ จึงเป็นสิ่งที่ควรคิดก่อนการเริ่มต้นกิจการอะไรก็ตาม ไม่เว้นแต่การเปิดร้านค้าปลีกของคุณ ไม่ว่าคุณจะเปิดร้านมินิมาร์ท, ร้านขายอาหารสัตว์, หรือร้านกิฟท์ช็อปก็ตาม

ก็ควรจะสร้างรูปแบบธุรกิจของร้านคุณไว้ก่อน เพื่อจะเป็นแผนให้คุณสามารถดำเนินกิจการไปได้ง่ายขึ้นในอนาคต 

แต่ใครที่ได้เริ่มต้นทำธุรกิจไปแล้ว ก็ยังสามารถนำตัวอย่างโมเดลหรือรูปแบบธุรกิจเหล่านี้มาปรับปรุงและการปรับเปลี่ยนเพื่อพัฒนาธุรกิจของคุณให้ดีขึ้นได้เรื่อย ๆ เพื่อให้กิจการเติบโตต่อไปนั่นเองค่ะ

1. การโฆษณา

พื้นฐานของโมเดลธุรกิจนี้เกี่ยวข้องกับการ “สร้างเนื้อหาต่างๆเพื่อให้ผู้คนต้องการอ่านหรือรับชม” จากนั้นก็แสดงโฆษณาให้น่าสนใจเพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการต่างๆให้ “ลูกค้าอยากซื้อสินค้าของเรา”

ส่วนรายได้ของการทำธุรกิจนี้นั้น ถ้าคุณเป็นผู้ประกอบการเอง รายได้ก็จะมาจาก “การขายสินค้าได้” ถ้าลูกค้ารับชมโฆษณาแล้วเกิดความอยากซื้อสินค้า ก็จะส่งผลให้ธุรกิจนั้นสามารถสร้างรายได้จากการขายสินค้าของคุณนั่นเอง 

ตัวอย่างโมเดลธุรกิจนี้ :  เราขอยกตัวอย่างโมเดลที่เป็นผู้ประกอบการอย่าง BigC เพื่อจะได้สอดคล้องกับเป้าหมายของคุณมากที่สุด 

นี่คือโฆษณาตัวล่าสุดของบิ๊กซี โดยการใช้พรีเซนเตอร์อย่างเบลล่า ราณี ในการสร้างภาพลักษณ์ให้กับแบรนด์ โดยการสร้างเรื่องราวผ่านวิดีโอให้ดูสนุกน่าติดตาม ปิดท้ายด้วยการบอกว่าที่บิ๊กซีมีอะไรที่โดดเด่นบ้าง

วิดีโอนี้ได้ถูกโฆษณาผ่านทางทีวี และช่องทางออนไลน์ตามแพลตฟอร์มต่าง ๆ ทั้ง Youtube, Facebook และ Twitter 

ซึ่งการโฆษณานี้ เป็นการโฆษณาเพื่อให้ผู้ชมรับรู้แบรนด์ เมื่อหลาย ๆ คนเห็นก็จะรู้จักแบรนด์มากขึ้น เป้าหมายคือกระตุ้นให้ลูกค้าอยากไปซื้อของที่บิ๊กซีมากขึ้น

หากลูกค้าเลือกที่จะไปซื้อสินค้าที่บิ๊กซีหลังจากเห็นโฆษณานี้ มันก็จะสร้างรายได้ให้แก่องค์กรเพิ่มขึ้นค่ะ 

สิ่งที่นำมาปรับใช้ได้ : หลายๆคนคงจะทราบดีว่า การที่ร้านค้าปลีกจะมีคนมาซื้อสินค้าได้ ไม่ใช่ว่าเปิดขึ้นมาเฉยๆแล้วจะมาลูกค้าเดินเข้ามาเลย

ใช่ค่ะ.. มันก็อาจจะมี แต่ถ้าคุณโฆษณาเพื่อโปรโมท มันก็จะเพิ่มจำนวนลูกค้ามากกว่าจริงไหมคะ?

คุณไม่จำเป็นต้องจ้างเอเจนซี่ใหญ่ ๆ เพื่อผลิตโฆษณาให้คุณแบบบิ๊กซีก็ได้ แต่คุณอาจจะใช้ทักษะการเล่นโซเชียลที่คุณมีโปรโมทร้านให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นก็ได้

แผ่บพับโฆษณา

ตัวอย่าง หากคุณเปิดร้านมินิมาร์ทอยู่ คุณควรจัดโปรโมชั่น ไม่ว่าจะเป็นซึ้อ2 แถม1, คูปองซื้อครบ 500 แถมชุดแก้วน้ำจากร้าน หรือโปรโมชั่นอะไรก็ได้พร้อมระบุวันหมดเขต

แล้วถ่ายภาพลงช่องทางออนไลน์ หรือทำเป็นแผ่นพับแจกคนในชุมชนบริเวณนั้น เพื่อให้ลูกค้ามาที่ร้านเพื่อซื้อของตามโปรโมชั่น นี่ก็เป็นการโฆษณาอีกอย่างหนึ่งที่จะส่งเสริมยอดขายให้กับคุณค่ะ 

อ่านเพิ่มเติม :

 

2. ธุรกิจพันธมิตร

รูปแบบธุรกิจพันธมิตรนั้นมีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจโฆษณาอยู่นะคะ แต่มีความแตกต่างเฉพาะบางอย่าง โดยพันธมิตรนั้นจะต้องมี 2 องค์กรขึ้นไปที่มีกลุ่มเป้าหมายลูกค้าที่เหมือนกัน

และทั้งสองจะต้องเอื้อผลประโยชน์ต่อกัน ซึ่งจะพบบ่อยที่สุดในทางออนไลน์ คือการใช้ลิงก์ที่ฝังอยู่ในเนื้อหาแทนที่จะโฆษณาแบบภาพหรือวิดีโอที่พอดูแล้วรู้เลยว่ามันคือการโฆษณา 

ตัวอย่างโมเดลหรือรูปแบบธุรกิจนี้ : ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่าย ๆ คือ wongnai.com เว็บไซต์รีวิวอาหารและที่พัก ที่ดีลกับ Lineman แอปพลิชั่นที่ให้บริการส่งอาหารดิลิเวอรี่

เป้าหมายที่ทั้งคู่ต้องการคือ “ลูกค้าที่อยากกินอาหาร” ซึ่งก่อนที่ลูกค้าจะเลือกไปกินอะไรที่ไหนซักที่ก็ตาม เขาก็อยากดูรีวิวว่าอาหารที่ไหนอร่อยบ้าง 

ไลน์แมนกับวงใน

ภาพจาก wongnai

สิ่งที่เข้าทำคือ ดูรีวิวใน wongnai.com เมื่อเจอร้านที่อยากกิน ต่อมาก็จะต้องสั่งอาหาร ซึ่งมันก็เป็นผลประโยชน์ให้กับ Lineman ที่ลูกค้าสามารถเข้าไปในแอปนี้ (ผ่านเว็บไซต์ของ wongnai) เพื่อสั่งอาหาร 

โดยรายได้ของไลน์แมน ก็มาจากการที่ลูกค้าสั่งอาหารในแอปของเขา ส่วนรายได้ของ wongnai ก็ได้จากไลน์แมนที่ฝากแอปไว้ มันจึงเป็นธุรกิจพันธมิตร ที่เรากล่าวถึงในตอนต้นค่ะ 

สิ่งที่นำมาปรับใช้ได้ : ถ้าคุณเปิดร้านค้าปลีกสักร้าน เช่น ร้านขายอาหารสัตว์ คุณอาจต้องทำธุรกิจพันธมิตรกับคลินิกรักษาสัตว์ โดยการขายอาหารสัตว์และอุปกรณ์ดูแลสัตว์เลี้ยงในราคาส่งที่ถูกกว่าให้กับคลินิก

เปิดร้านขายอาหารสัตว์

ส่วนร้านของคุณก็แนะนำคลินิกนั้น ๆ ให้กับลูกค้าถ้าเขาต้องการพาสัตว์เลี้ยงไปรักษาหรือรับคำแนะนำเพิ่มเติม

ผลประโยชน์ร่วมกันก็คือ คุณก็จะได้เพิ่มช่องทางการขายให้หลากหลายมากขึ้น ส่วนคลินิกก็ได้ลูกค้าจากการแนะนำของคุณ แต่หากเปิดร้านค้าอย่างอื่นก็ลองนำแนวทางนี้ไปใช้ดูนะ 

3. แฟรนไชส์

รูปแบบธุรกิจนี้คุณอาจจะพบเห็นได้ทั่วไปในรูปแบบของร้านอาหาร แต่นอกจากนี้ก็ยังมีแฟรนไชส์ ในกิจการอื่น ๆ อีกเยอะแยะมากมาย ที่มาในรูปแบบอุตสาหกรรมสินค้าและบริการทุกประเภท เช่น ร้านทุกอย่าง 20 บาท, ร้านบริการขนส่ง, ร้านขายเครื่องสำอาง, ร้านกิฟท์ช็อป

แฟรนไชส์

ธุรกิจแบบแฟรนไชส์นี้ จะเป็นในลักษณะของธุรกิจที่มีเอกลักษณ์แบบเดียวกัน ทั้งชื่อร้าน วัตถุดิบ การบริหารงาน ระบบต่างๆ ซึ่งจะมีผู้ถือครองสิทธิ์นี้โดยคนก่อตั้งร้าน

หลังจากนั้นก็กระจายไปให้คนอื่นด้วยการขายแฟรนไชส์นี้ให้แก่ผู้อื่น ที่ถือว่าเขาได้รับสิทธิ์เพื่อนำไปเปิดกิจการต่อในรูปแบบเดียวกันต่อไป โดยผู้ถือสิทธิ์จะต้องบอกสูตรและเคล็ดลับทุกอย่างให้ผู้รับสิทธิ์รู้และทำตามวิธีของธุรกิจนั้นๆ หากอยากอ่านเรื่องแฟรน์ไชส์เพิ่มเติม คลิกอ่าน >>  แฟรนไชส์ คืออะไร?

ตัวอย่างโมเดลหรือรูปแบบธุรกิจนี้   Cafe Amazon, Mc Donald’s, Miniso 

สิ่งที่นำมาปรับใช้ได้ : หากคุณอยากทำธุรกิจ “อยากเปิดแฟรนไชส์เป็นของตัวเอง” และขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่นๆ เพราะคุณต้องเริ่มจากการเปิดร้านของตัวเองที่ประสบความสำเร็จก่อน หรือถ้าคุณเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านใดด้านหนึ่งและมีธุรกิจเป็นของตัวเองอยู่แล้ว

คุณอาจต้องลงทุนกับการปั้นแบรนด์ของตัวเองซะหน่อย รวมถึงต้องสร้างความเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นให้แบรนด์ร้านค้าของคุณ อีกทั้งยังต้องสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้มีความน่าเชื่อถือ เพื่อที่ผู้คนจะได้เชื่อมั่นและกล้ามาลงทุนซื้อแฟรนไชส์กับคุณค่ะ 

นักธุรกิจแฟรนไชส์

แต่ถ้าคุณยังไม่มีธุรกิจเป็นของตัวเอง  หรือคิดว่าการเริ่มต้นด้วยตัวเองมันออกจะยากสักหน่อย “การซื้อแฟรนไชส์ของร้านอื่นมาขาย” ก็เป็นทางเลือกที่ดีในการเริ่มต้นธุรกิจ มันก็อาจจะดูง่าย เพียงแค่จ่ายเงินก็ได้ร้านค้าเป็นของตัวเอง

แต่สิ่งที่คุณจะต้องคำนึงนั่นก็คือ 

  • กลุ่มเป้าหมายของคุณเป็นใคร?
  • ทำเลของคุณเหมาะสมหรือไม่?
  • เมื่อซื้อแฟรนไชส์มาแล้วจะขายได้หรือเปล่า?

ถ้าคิดให้ละเอียดรอบคอบแล้ว ชั่งใจได้ว่าลงทุนแล้วคุ้มแน่นอน ก็เลือกแฟรนไชส์ที่เหมาะสมกับคุณแล้วลุยเลยค่าา 

4. Customization 

ธุรกิจบางอย่างมีผลิตภัณฑ์หรือสินค้าในคลังของตัวเองอยู่แล้ว แต่พวกเขาต้องการที่จะเพิ่มบริการบางอย่าง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ต้องการอะไรที่ไม่เหมือนใคร (เรียกง่ายๆว่า แรร์ไอเทม)  

จึงมี Customization หรือ “การผลิตงานตามความต้องการของลูกค้า” เข้ามามีบทบาทเพื่อจึงเพิ่มองค์ประกอบใหม่ ที่ลูกค้าสามารถกำหนดเองได้ ซึ่งการทำแบบนี้เป็นการสร้างมูลค่าของสินค้าและขยายแบรนด์ให้ดูมีเอกลักษณ์มากขึ้นไปอีกค่ะ 

ตัวอย่างโมเดลหรือรูปแบบธุรกิจนี้ :  NIKEiD หรือ NIKE Individually Design เป็นบริการของ NIKE ที่ให้ผู้ซื้อได้ออกแบบรองเท้าของไนกี้หลายประเภท

ออกแบบรองเท้าไนกี้ในสตูดิโอ

ภาพจาก sneakerfiles

ไม่ว่าจะเป็น รองเท้าใส่เล่น รองเท้าวิ่ง หรือรองเท้าฟุตบอล ซึ่งลูกค้าก็จะ”ฟิน” มากตรงที่เป็นเจ้าของรองเท้าที่ออกแบบโดยตัวเอง ไม่ซ้ำกับคนอื่น ส่วนผู้ประกอบการก็จะได้กำไรมากขึ้นจากส่วนนี้นั่นเองจ้าา 

สิ่งที่นำมาปรับใช้ได้ : ถ้าคุณเปิดร้านขายของขวัญหรือร้านกิฟท์ช็อป สิ่งที่จะสามารถทำให้เป็นแบบตัวอย่างโมเดลธุรกิจ Customization ก็คือ การรับผลิตของขวัญแบบเฉพาะบุคคล

เช่น รับทำหมวกแบบพิมพ์ชื่อได้ เป็นสิ่งที่คุณควรนำมาบริการเพิ่มเติมในร้านขายของขวัญ เป็นการสร้างมูลค่าทางจิตใจให้กับคนได้รับของขวัญ เพราะเขาจะรู้สึกว่า “นี่คือของๆเรา เพราะมันเป็นชื่อของเรา” แสดงถึงความใส่ใจที่มากขึ้น เป็นอีกทางเลือกให้กับลูกค้าค่ะ 

5. การสมัครสมาชิก

โมเดลธุรกิจการสมัครสมาชิกกลายเป็นเรื่องปกติและมีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะผู้บริโภคจะถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการสมัครสมาชิกเพื่อเข้าถึงสินค้าบริการได้อย่างเต็มที่ โดยเมื่อก่อนนู้นน.. มีการสมัครสมาชิกนิตยสารและหนังสือพิมพ์มานานแล้ว 

แต่ปัจจุบันรูปแบบนี้ได้แพร่กระจายไปยังซอฟต์แวร์และบริการออนไลน์ อีกทั้งยังปรากฏในอุตสาหกรรมบริการด้วย มันก็เลยเป็นช่องทางให้ทำธุรกิจต่าง ๆ ได้ง่ายมากขึ้นเพื่อตอบสนองผู้บริโภคยังไงล่ะคะ 

ตัวอย่างโมเดลหรือรูปแบบธุรกิจนี้ : Netflix อันนี้ชัดมาก หลาย ๆ คนคงใช้บริการนี้อยู่ เพราะคุณสามารถเข้าถึงหนัง ซีรี่ส์ สื่อบันเทิงต่าง ๆ จากทั่วทุกมุมโลก แต่ไม่มีคำว่าฟรีนะคะ เพราะคุณต้องจ่ายเงินหลังจากสมัครสมาชิก เพื่อเข้าถึงสื่อบันเทิงในแอปนั้นจ้าา

เนตฟลิกซ์

ภาพจาก  bangkokpost

และราคาก็มีแตกต่างกันไป จ่ายแพงขึ้นก็ได้สิทธิพิเศษมากขึ้นไปอีก ถือเป็นอีกธุรกิจที่น่าสนใจมาก แต่เนื้อหาข้างในต้องแน่นและน่าติดตามมากเลยทีเดียวเน้ออ 

สิ่งที่นำมาปรับใช้ได้  : การที่คุณมีร้านค้าปลีก ไม่ว่าจะขายอะไรก็ตาม คุณสามารถให้ลูกค้าสมัครสมาชิกในร้านของคุณได้ เพื่อรับสิทธิและการบริการที่มากกว่า 

young woman studying library

เช่น การเปิดร้านขายหนังสือ คุณอาจจะไม่ต้องให้ลูกค้าเสียเงินเพื่อสมัครสมาชิก แต่คุณควรให้ลูกค้าสมัครสมาชิกฟรี เพื่อเป็นการดึงให้พวกเขามาซื้อหนังสือที่ร้านของคุณบ่อย ๆ

ซึ่งในการสมัครสมาชิกนั้นอาจจะเพิ่มสิทธิพิเศษไม่ว่าจะเป็น การห่อปกฟรี, ซื้อครบ 500 บาทได้รับส่วนลด 100 บาท, ซื้อหนังสือ 1 เล่มแถมที่คั่นหนังสือหรือปากกา ฯลฯ 

“คุณควรเพิ่มโปรโมชั่นต่าง ๆ ที่น่าดึงดูดใจให้ลูกค้าสมัครสมาชิก”

ถ้าลูกค้าเป็นคอหนังสือ เขาจะต้องชอบแน่นอนค่ะ (เพราะคนเขียนเป็นคนชอบอ่านหนังสือมาก ๆ มาก่อน ก็เคยสมัครสมาชิกร้านหนังสือ เพื่อรับสิทธิพิเศษต่างๆของร้านเหมือนกัน ซึ่งมันทำให้เราอยากไปซื้อหนังสือที่ร้านนั้นมากขึ้นจริง ๆ นะ) 

อ่านเพิ่มเติม :

✔ สรุป 

โมเดลธุรกิจ หรือ Business Model ที่เรายกมาเป็นตัวอย่างทั้งหมดนี้ยังเป็นแค่ส่วนหนึ่งของธุรกิจอีกหลายประเภทเท่านั้นเอง แต่หวังว่าเราจะช่วยให้คุณคิดได้ว่าคุณจะทำรูปแบบธุรกิจของคุณยังไงให้น่าสนใจและประสบความสำเร็จได้ในอนาคตนะคะ 

ประเด็นก็คือ… คุณไม่จำเป็นต้องคิดค้นรูปแบบธุรกิจใหม่เลยถ้าคุณอยากเริ่มต้นทำธุรกิจจริงๆ “แต่การใช้โมเดลที่มีอยู่ ที่เราเอามาแนะนำให้คุณนี่แหละ มาช่วยนำคุณไปสู่ความสำเร็จได้”

เนื่องจากโมเดลเหล่านี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าใช้งานได้จริงและประสบความสำเร็จจริง หรือคุณอาจจะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ภายในรูปแบบธุรกิจที่คุณมีอยู่แล้ว เพื่อขยายธุรกิจของคุณก็ทำได้เช่นกันค่ะ

และเราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์จากบทความนี้กันไปบ้างน้าา และอย่าลืมติดตามบทความต่อ ๆ ไปกันด้วยนะคะ อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ PN Storetailer

ขอบคุณข้อมูลแหล่งที่มาจาก :  

ใส่ความเห็น