ร้านค้าปลีก คืออะไร? มีประเภทใดบ้าง พร้อมตัวอย่าง

ร้านค้าปลีก คือ

ร้านค้าปลีก คืออะไร? 

Retail Business หรือธุรกิจร้านค้าปลีก คือ ธุรกิจที่เกิดการซื้อ-ขายสินค้าหรือบริการที่ส่งถึงผู้บริโภคโดยตรง ซึ่งจะขายอะไรก็ได้ที่ถูกกฏหมาย และเป็นการขายสินค้าให้ถึงมือผู้บริโภคคนสุดท้าย โดยพวกเขาจะใช้เองหรือให้เป็นของขวัญแก่คนอื่นก็ได้ 

ไม่ว่าจะเป็น ร้านอาหาร, ร้านสะดวกซื้อ, ร้านเสื้อผ้า, ร้านเครื่องเขียน, ร้านเครื่องสำอาง, หรือร้านเครื่องมือช่าง ฯลฯ 

ซึ่งสมัยก่อนก็จะมีร้านค้าปลีกที่มีเฉพาะหน้าร้านอย่างเดียว แต่หลายปีที่ผ่านมา ร้านค้าปลีกก็ได้ถูกแตกแขนงออกไปให้อยู่ในออนไลน์ด้วย หรืออาจจะเรียกได้ว่า จากที่เคยเป็นร้านค้าปลีกดั้งเดิม ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย กลายเป็นร้านค้าปลีกสมัยใหม่กันไปซะหมดแล้ว 

✎ Note : ร้านค้าปลีก คือ สุดยอดของกระบวนการต่าง ๆ ที่นำมารวมกันเพื่อดึงดูดผู้บริโภคและสร้างยอดขาย

กระบวนการทำงานของร้านค้าปลีก 

ผู้ค้าปลีกใช้ระบบจัดหาสินค้าจากผู้ค้าส่งเพื่อขายให้กับผู้บริโภค ในการจัดหาสินค้าคงคลังนั้น คนขายเองจะต้องตรวจสอบความต้องการของลูกค้ามีเป็นไปในทิศทางใด และยังต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ค้าส่ง เพื่อให้ได้ราคาที่ถูกลงอีกด้วย 

ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) หรือกระบวนการต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการซื้อขายในร้านค้าปลีก ประกอบไปด้วย ผู้ผลิต, ผู้ค้าส่ง, ผู้ค้าปลีกและผู้บริโภค ผู้ค้าส่งเชื่อมต่อโดยตรงกับผู้ผลิต ในขณะที่ผู้ค้าปลีกเชื่อมต่อกับผู้ค้าส่ง

กระบวนการทำงานของร้านค้าปลีก

ภาพกระบวนการทำงานของร้านค้าปลีก 

ผู้ผลิต : ผลิตสินค้าโดยใช้เครื่องจักร วัตถุดิบ และแรงงาน

ผู้ค้าส่ง : ซื้อสินค้าสำเร็จรูปจากผู้ผลิต และขายสินค้าเหล่านั้นให้กับผู้ค้าปลีกในปริมาณมา

ผู้ค้าปลีก : ขายสินค้าในปริมาณเล็กน้อยให้กับผู้บริโภค ในราคาที่สูงขึ้นตามที่ผู้ผลิตแนะนำราคามา 

ผู้บริโภค : ซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกเพื่อใช้ส่วนตัว

แต่เนื่องจากร้านค้าปลีกนั้นมีหลายประเภทด้วยกัน ทำให้ห่วงโซ่อุปทานข้างต้นที่เรากล่าวมา อาจเกิดขึ้นกับร้านค้าปลีกบางประเภทเท่านั้น เพราะร้านค้าปลีกประเภทใหญ่ ๆ บางเจ้าก็เป็นผู้ผลิตเอง เป็นผู้ค้าส่งเอง และยังเป็นผู้ค้าปลีกเองอีกด้วย 

✎ Note : พฤติกรรมของผู้บริโภค, ฤดูกาล, เศรษฐกิจ, ภูมิอากาศและ ทำเลร้านค้า มีผลอย่างมากต่อการนำสินค้ามาขาย

ประเภทของร้านค้าปลีก 

จะเห็นได้ว่าร้านค้าปลีกในประเทศไทยมีหลายแบบมากที่สร้างขึ้นมาเพื่อรองรับผู้บริโภคกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งร้านค้าปลีกแต่ละประเภทก็จะให้ประสบการณ์ช้อปปิ้งที่แตกต่างกัน

 1. ร้านค้าปลีกขนาดเล็ก (Grocery Store)

1. ร้านค้าปลีกขนาดเล็ก (Grocery Store)

ร้านค้าปลีกขนาดเล็ก (Grocery Store) เป็นร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม ที่ดูแลทุกอย่างภายในร้านเองคนเดียว ใช้พื้นที่น้อย ๆ ในบริเวณชั้น 1 ของหน้าบ้าน หรือตึกแถว 1 คูหา มักจะขายของใช้ในชีวิตประจำวัน ส่วนใหญ่จะเป็นการขายให้คนในชุมชนหรือคนในหมู่บ้านด้วยกันเอง คนมักจะเรียกว่า ร้านโชห่วยหรือ ร้านขายของชำ ค่ะ

ซึ่งร้านประเภทนี้จะไม่ค่อยมีเทคโนโลยีอะไรมากนัก การจัดการบัญชีต่าง ๆ ก็จะเป็นระบบเก่าและจัดการด้วยตนเองซะมากกว่า เพราะมีขนาดที่ไม่ใหญ่มากนั่นเอง

ตัวอย่างร้านค้าปลีกขนาดเล็ก

ภาพตัวอย่าง แบบร้านขายของชำ by BigBest

2. ร้านค้าปลีกเฉพาะอย่าง (Specialty Store)

2. ร้านค้าปลีกเฉพาะอย่าง (Specialty Store)

Specialty Store เป็นร้านค้าปลีกที่เน้นขายสินค้าเฉพาะอย่าง ที่จะเน้นสินค้าไปที่ประเภทใดประเภทหนึ่งเป็นพิเศษ เช่น ร้านขายเครื่องสำอาง, ร้านหนังสือ, ร้านเพ็ทช็อป, ร้านขายยา ฯลฯ 

ซึ่งร้านค้าปลีกประเภทนี้สามารถพัฒนารูปแบบให้เป็นร้านค้าปลีกสมัยใหม่ได้ โดยเพิ่ม ระบบ POS เข้าไป หรือเพิ่มช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ เข้าไปเพื่อให้ยอดขายเพิ่มขึ้นได้ 

ตัวอย่างร้านค้าปลีกเฉพาะอย่าง

ร้านค้าปลีกเฉพาะอย่าง by แบบร้านค้า BIGBEST

ร้านเพ็ทช็อป  by PN Steel

3. ร้านสะดวกซื้อ (Convenience Store) 

3. ร้านสะดวกซื้อ (Convenience Store)

ร้านสะดวกซื้อ (Convenience Store) ร้านประเภทนี้ถูกพัฒนาให้เป็นร้านค้าปลีกสมัยใหม่ เพราะมีระบบต่าง ๆ ทุกอย่างเข้ามาซัพพอร์ต เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น เน้นสนองความต้องการแบบเร่งด่วนแก่ลูกค้า มีสินค้าที่หลากหลาย ส่วนใหญ่จะเป็นอาหาร, เครื่องดื่ม, ของใช้ในชีวิตประจำวัน

ร้านค้าปลีกประเภทนี้ก็อย่างเช่น ร้านมินิมาร์ททั่วไป, 7-Eleven , Family mart, 108 Shop

ตัวอย่างร้านสะดวกซื้อ

7 Eleven Convenience Store

ร้านสะดวกซื้อ Pic by 7-Eleven Australia

4. ซูเปอร์มาร์เก็ต (Supermarket)

4. ซูเปอร์มาร์เก็ต (Supermarket)

ซูเปอร์มาร์เก็ต (Supermarket) เป็นร้านที่เน้นขายสินค้าอุปโภคบริโภคในครัวเรือน จะเป็นสินค้าที่มีความจำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน จุดเด่นของร้านค้าปลีก ประเภทนี้คือ อาหารสด, ผักสด, เนื้อสัตว์, อาหารทะเลต่าง ๆ 

ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่มีกำไรต่ำ แต่เน้นขายในปริมาณที่เยอะ มักจะอยู่ใกล้เคียงกับละแวกบ้าน หรืออาจจะอยู่ในห้างสรรพสินค้าและไฮเปอร์มาร์เก็ต 

แต่ปัจจุบันก็ได้มีการแยกตัวเปิดเป็นอิสระหลายร้านอยู่เหมือนกัน เช่น Tops Markets, Villa Market, Foodland

ตัวอย่างซูเปอร์มาร์เก็ต

ตัวอย่างซูเปอร์มาร์เก็ต Pic by tops.co.th, thestandard.co

5. ห้างสรรพสินค้า (Department Store)

5. ห้างสรรพสินค้า (Department Store)

ห้างสรรพสินค้า (Department Store) เป็นร้านค้าปลีกที่มีขนาดใหญ่มาก มีรวมรวมสินค้าและบริการทุกอย่างไว้ในนี้แบบครบวงจร ซึ่งแบ่งทุกอย่างไว้เป็นโซนอย่างชัดเจน เป็นแหล่งรวมความสนุกสนานเพลิดเพลินชั้นยอดเยี่ยมในการช้อปปิ้งไว้ที่นี่ 

สิ่งที่มีในห้างสรรพสินค้าก็จะเป็น เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า เครื่องประดับ แบรนด์หรู, ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม, คลินิกเสริมความงาม, บริการเกี่ยวกับโทรศัพท์และอุปกรณ์ไอที, โรงหนัง, ฟู้ดคอร์ด, ร้านอาหารแบรนด์ดัง, ซูเปอร์มาร์เก็ต, เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน, เครื่องเล่นต่าง ๆ 

ตัวอย่างเช่น สยามพารากอน (Siam Paragon), เซ็นทรัล (Central), เดอะมอลล์ (The Mall), โรบินสัน (Robinson), เอ็มควอเทียร์ (EmQuartier), ไอคอนสยาม (ICONSIAM) 

ตัวอย่างห้างสรรพสินค้า

Department Store

ภาพห้างสรรพสินค้า

6. ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ (Discount Store, Hypermarket)

6. ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ (Discount Store, Hypermarket)

ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ (Discount Store, Hypermarket) หรือไฮเปอร์มาร์เก็ต มักจะขายสินค้าที่หลากหลายในราคาที่ประหยัด เน้นให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าไปทีละเยอะ ๆ เพื่อให้มียอดขายสินค้าในปริมาณที่สูง เน้นสินค้าและบริการที่เข้าถึงง่าย ไม่ได้หรูหราเท่าแบรนด์ต่าง ๆ ในห้างสรรพสินค้า

ส่วนลักษณะก็จะเหมือนการรวมซูเปอร์มาร์เก็ตกับห้างสรรพสินค้าเข้าไว้ด้วยกัน มีความบันเทิงสนุกสนานให้เป็นโซนไว้ นอกจากนี้ก็จะยังมีสินค้าในครัวเรือน สินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไปไว้ด้วยเช่นกัน เช่น Tesco Lotus, Big-C, Makro  อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ : Hypermarket คืออะไร? พร้อมรู้จัก 2 เจ้าใหญ่ที่ครองตลาด

ตัวอย่างไฮเปอร์มาร์เก็ต

Big C ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่

ไฮเปอร์มาร์เก็ตบิ๊กซี by bigc.co.th

ไฮเปอร์มาร์เก็ตโลตัส by corporate.lotuss

7. ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ที่เน้นขายสินค้าเฉพาะกลุ่ม (Category Killer)

7.Category Killer Retail

ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ที่เน้นขายสินค้าเฉพาะกลุ่ม (Category Killer) อันนี้จะคล้าย ๆ กับข้อ 2 ร้านค้าปลีกเฉพาะอย่าง (Specialty Store) คือจะมีความจำเพาะเจาะจงในการขายสินค้า เน้นสินค้าเป็นประเภทนั้น ๆ ไปเลย แต่ร้านประเภทนี้จะมีความใหญ่มากกว่า Specialty Store ซึ่งใหญ่ขนาดที่ว่าก็คือ Category Killer เปรียบเสมือนห้างสรรพสินค้าที่รวบรวมสินค้าประเภทนั้น ๆ ไว้โดยเฉพาะเลยค่ะ ซึ่งส่วนใหญ่สินค้าของร้านค้าปลีกประเภทนี้ก็จะเป็น ร้านวัสดุก่อสร้าง ร้านอุปกรณ์ตกแต่งบ้าน และร้านเฟอร์นิเจอร์ขนาดใหญ่

ซึ่งพอเป็นขนาดใหญ่ก็จะมีสินค้าที่หลากหลายและครบครันตอบโจทย์ลูกค้าได้มากกว่า อาจมีส่วนลดในสินค้าบางอย่าง รวมถึงมีบริการหลังการขาย ตัวอย่างเช่น พาวเวอร์บาย (Power Buy), โฮมโปร (Home Pro), Index Living Mall

ตัวอย่างร้านขายสินค้าเฉพาะกลุ่ม

ร้านเฟอร์นิเจอร์ Index living mall

Pic by indexlivingmall

ร้านวัสดุก่อสร้างขนาดใหญ่ by PN Steel

เราจะเห็นร้านค้าปลีกประเภท Category Killer จะเป็นร้านอุปกรณ์ตกแต่งบ้านซะส่วนใหญ่ แต่ยังมีร้านแบบขายสินค้าเฉพาะกลุ่มอีกหลายประเภทที่ยังไม่ได้ขยายสาขาเยอะจนเป็นที่นิยมก็อย่างเช่น ร้าน Pet Shop ถ้าร้านประเภทนี้ สามารถขยายสาขาไปทั่วประเทศจนมีชื่อเสียงได้ อาจจะทำให้รายได้มากและเป็นเจ้าที่ครองตลาดได้เลยทีเดียว 

แต่ก็เห็นอยู่บ้างนะคะ กับร้านที่นำ Pet Shop มาเปิดในห้างอย่างเช่น Pet Lovers Centre ของประเทศสิงคโปร์ ที่มาเปิดสาขาในไทย เน้นเป็นสาขาในห้างสรรพสินค้าอย่างในเซ็นทรัลและเดอะมอลล์ ซึ่งคนเขียนว่ามีถ้าเจ้าของที่เป็นคนไทยสามารถทำได้ น่าจะสร้างยอดขายได้มากทีเดียวนะคะ

✔ สรุป 

ตอนนี้ทุกคนก็ได้รู้แล้วว่า ร้านค้าปลีก คืออะไร? มีกระบวนการทำงานอย่างไร และแบ่งเป็นประเภทไหนบ้าง ใครที่กำลังจะเปิดร้านค้าปลีก ก็จะสามารถแบ่งได้แล้วนะคะว่าร้านที่คุณกำลังจะเปิดเป็นร้านค้าปลีกแบบไหนกันแน่ 

Key Takeaways

  • ร้านค้าปลีก คือ ธุรกิจที่เกิดการซื้อ-ขายสินค้าหรือบริการที่ส่งถึงผู้บริโภคโดยตรง
  • รูปแบบร้านค้าปลีก สร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก 
  • ร้านค้าปลีกแต่ละรูปแบบกระจายอยู่ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ถ้ารู้จักวิธีการบริหารร้านค้าก็จะทำให้ยอดขายเติบโตไปได้เรื่อย ๆ หากคุณอยากทราบว่าจะบริหารร้านค้าอย่างไรสามารถอ่านได้ที่นี่เลยค่ะ →  5 ทริคในการบริหารร้านค้าปลีกยุคใหม่ 

สำหรับใครที่กำลังจะเปิดร้านค้าปลีกเป็นของตัวเอง หากมองหาชั้นวางสินค้าและอุปกรณ์เปิดร้านแบบครบวงจร แนะนำให้ใช้บริการกับเครือบริษัท PN นะคะ เรารับออกแบบวางแปลนชั้นวางสินค้า, ผลิตชั้นวางสินค้าให้เหมาะสมกับแบรนด์ของคุณ และยังมีตัวแทนจำหน่ายชั้นวางสินค้าสำเร็จรูปทั่วประเทศ

📞 ติดต่อได้ที่ :

และอย่าลืมอ่านบทความอื่น ๆ ของ PN Storetailer กันด้วยนะคะ

Sources

ใส่ความเห็น